เมนู

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว กล่าวว่า " ข้าพเจ้าได้ทำความสำคัญ
ในท่านว่าเป็นสมณะสิ้นกาลประมาณเท่านี้, บัดนี้ ท่านขว้างท่อนไม้ไป
เพราะความเป็นผู้ประสงค์จะประหารข้าพเจ้า, ท่านไม่เป็นสมณะแต่กาล
ที่ท่านขว้างท่อนไม้ไปแล้วทีเดียว, ประโยชน์อะไรด้วนชฎาทั้งหลายของ
บุคคลผู้ทรามปัญญาเช่นท่าน, ประโยชน์อะไรด้วยหนังเนื้อชื่ออชินะพร้อม
ทั้งกีบ. เพราะภายในของท่านรกรุงรัง, ท่านย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก
อย่างเดียวเท่านั้น."
พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า " พราหมณ์
นี้ ได้เป็นดาบสผู้หลอกลวงในกาลนั้น, ส่วนพระยาเหี้ย ได้เป็นเรานี่เอง "
ดังนี้ แล้วทรงประมวลชาดก เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งดาบสนั้น ถูกเหี้ย
ตัวฉลาดข่มในกาลนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
11. กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ กินฺเต อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรนฺเต คหนํ พาหิรํ ปริมชฺชสิ.
" ผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรด้วยชฎา
ทั้งหลายของเธอ, ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วย
หนังเนื้อชื่ออชินะของเธอ; ภายในของเธอรกรุงรัง,
เธอย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กินฺเต ชฏาหิ ความว่า ดูก่อน
ผู้ทรามปัญญา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาเหล่านี้ แม้อันเธอเกล้าไว้ดีแล้ว
และด้วยผ้าสาฎกที่ทำด้วยหนังเนื้อชื่ออชินะนี้ พร้อมทั้งกีบอันเธอนุ่งแล้ว
ของเธอ.

บทว่า อพฺภนฺตรํ ความว่า ในภายในของเธอรกรุงรังด้วยกิเลสมี
ราคะเป็นต้น, เธอย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก เหมือนคูถช้างคูถข้างคูถม้าเกลี้ยง-
เกลาแต่ภายนอกอย่างเดียว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องกุหกพราหมณ์ จบ.

12. เรื่องนางกิสาโคตมี [275]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภนางกิสา-
โคตมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปํสุกูลธรํ" เป็นต้น.

นางโคตมีเห็นท้าวสักกะ


ได้ยินว่า ในกาลนั้นท้าวสักกะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับ
เทวบริษัท ในที่สุดแห่งปฐมยาม ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ทรงสดับ
ธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแหงความระลึกถึงอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
ในขณะนั้น นางกิสาโคตมีคิดว่า " เราจักเฝ้าพระศาสดา " เหาะ
มาทางอากาศแล้ว เห็นท้าวสักกะ จึงกลับไปเสีย1 ท้าวเธอทอดพระเนตร
เห็นนางผู้ถวายบังคมแล้ว กลับไปอยู่ ทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า
ภิกษุณีนั่นชื่อไร ? พอมาเห็นพระองค์แล้วก็กลับ."

นางกิสาโคตมีเลิศทางทรงผ้าบังสุกุล


พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น ชื่อกิสาโคตมี เป็น
ธิดาของตถาคต เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย" ดังนี้
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
12. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ กิสนฺธมนิสนฺถตํ
เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่ง
ด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์."

1. การเที่ยวไปกลางคืนเสมอ ๆ ภิกษุณีมิได้ประพฤติ.