เมนู

แล้ว: เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย
มีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น . จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่น อาศัยอะไร
จึงไม่สามารถ ?
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า " อานนท์ อุบาสก
เหล่านั้น อาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ:
ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้
สัตว์ทั้งหลาย; แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏ
แห่งอาทิตย์ 7 ดวงบังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไร ๆ เหลืออยู่เลย
ก็จริง, ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น; ชื่อว่ากาลที่ไฟคือ
ราคะจะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี: เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ชื่อว่า
ผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอ
ด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.

"ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโมหะ
ไม่มี, ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี. แม่น้ำเสมอด้วย
ตัณหา ไม่มี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วย
ราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไร ๆ เช่นควันเป็นต้น
ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง. บทว่า โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้

จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับ
ได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.
สองบทว่า โมหสมํ ชาลํ ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อม
ไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.
บทว่า ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้ง
ก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลาย มีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ, แต่เวลาเต็ม
หรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี, ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏ
เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะ
อรรถว่าให้เต็มได้โดยยาก.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผลแล้ว. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกัน
แล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอุบาสก 5 คน จบ.

10. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [191]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยภัททิยนครประทับอยู่ในชาติยาวัน1 ทรง
ปรารภเมณฑกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ"
เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปภัททิยนคร


ได้ยินว่า พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในอังคุตตราปถชนบท
ทั้งหลาย ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของคนเหล่านี้ คือเมณฑกเศรษฐี 1,
ภรรยาของเศรษฐีนั้น ชื่อว่านางจันทปทุมา 1, บุตรชื่อธนัญชัยเศรษฐี 1,
หญิงสะใภ้ชื่อนางสุมนเทวี2 1, หลานสาวชื่อวิสาขา 1, ทาสชื่อปุณณะ 1,
จึงเสด็จไปสู่ภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวัน . เมณฑกเศรษฐีได้สดับ
การเสด็จมาของพระศาสดาแล้ว.

เหตุที่ได้นามว่าเมณฑกเศรษฐี


ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร เศรษฐีนั่นจึงชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี ?"
แก้ว่า ได้ยินว่า แพะทองคำทั้งหลายประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะ
ชำแรกแผ่นดินเอาหลังดุนหลังกันผุดขึ้นในที่ประมาณ 8 กรีส ที่ข้างหลัง
เรือนของเศรษฐีนั้น. บุญกรรมใส่กลุ่มด้าย 5 สีไว้ในปากของแพะเหล่านั้น.
เมื่อมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น
หรือด้วยวัตถุมีผ้าเครื่องปกปิด เงินและทองเป็นต้น ชนทั้งหลานย่อมนำ
กลุ่มด้ายออกจากปากของแพะเหล่านั้น. เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
1. ป่าไม้มะลิ 2. ที่อื่น ๆ ว่า สุมนาเทวี.