เมนู

ใจ จากอารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด, ความเกียด
กันนั่น ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์,
ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้จาก
วัตถุใด ๆ, ความทุกข์ย่อมสงบได้เพราะวัตถุนั้น ๆ
นั้นแล."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหเรยฺย ความว่า พราหมณ์ผู้ขีณาสพ
รู้อยู่ว่า " เราเป็น (พระขีณาสพ) " ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์ขีณาสพ
หรือพราหมณ์อื่น.
สองบทว่า นาสฺส มุญฺเจถ ความว่า พราหมณ์ขีณาสพแม้นั้น ถูก
เขาประหารแล้ว ไม่ควรจองเวรแก่เขาผู้ประหารแล้วยืนอยู่, คือไม่ควร
ทำความโกรธในพราหมณ์นั้น.
บทว่า ธิ พฺราหมฺณสฺส ความว่า เราย่อมติเตียนพราหมณ์ผู้ประหาร
พราหมณ์ขีณาสพ.
บทว่า ตโต ธิ ความว่า ก็ผู้ใด ประหารตอบซึ่งเขาผู้ประหารอยู่
ชื่อว่า ย่อมจองเวรในเบื้องบนของเขา, เราติเตียนผู้จองเวรนั้น แม้กว่าผู้
ประหารนั้นทีเดียว.
สองบทว่า เอตทกิญฺจ เสยฺโย ความว่า การไม่ด่าตอบซึ่งบุคคล
ผู้ด่าอยู่ หรือการไม่ประหารตอบซึ่งบุคคลผู้ประหารอยู่ ของพระขีณาสพ
ใด, การไม่ด่าตอบหรือการไม่ประหารตอบนั่น ย่อมเป็นความประเสริฐ
ไม่ใช่น้อย คือไม่เป็นความประเสริฐที่มีประมาณน้อย แก่พราหมณ์ผู้เป็น
ขีณาสพนั้น, ที่แท้ย่อมเป็นความประเสริฐอันมีประมาณยิ่งทีเดียว.

บาทพระคาถาว่า ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ ความว่า ก็ความ
เกิดขึ้นแห่งความโกรธ ชื่อว่าอารมณ์เป็นที่รักแห่งใจ ของบุคคลผู้มัก
โกรธ, ก็บุคคลผู้มักโกรธนั่น จะผิดในมารดาบิดาก็ดี ในพระพุทธเจ้า
เป็นต้นก็ดี ก็เพราะอารมณ์เป็นที่รักเหล่านั้น, เหตุนั้นความเกียดกันใจ
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเหล่านั้น คือความข่มขี่จิตอันเกิดขึ้นอยู่ ด้วยอำนาจ
ความโกรธ ของบุคคลผู้มักโกรธนั้นใด, ความเกียดกันนั่น ย่อมเป็น
ความประเสริฐไม่น้อย.
ใจอันสัมปยุตด้วยความโกรธ ชื่อว่า หึสมโน, ใจอันสัมปยุตด้วย
ความโกรธของเขานั้น เมื่อถึงความถอนขึ้นด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าย่อม
กลับได้จากวัตถุใด ๆ.
สองบทว่า ตโต ตโต ความว่า วัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น ย่อมกลับได้
เพราะวัตถุนั้น ๆ นั่นแล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

8. เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี [271]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนางมหา-
ปชาบดีโคตมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส กาเยน " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงบัญญัติครุธรรม 8


ความพิสดารว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมกับบริวารรับครุ-
ธรรม 8 ประการ1 อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในเมื่อเรื่องยังไม่
เกิดขึ้น เหมือนบุรุษผู้มีชาติมักประดับรับพวงดอกไม้หอมด้วยเศียรเกล้า
ได้อุปสมบทแล้ว. อุปัชฌายะหรืออาจารย์อื่นของพระนางไม่มี. ภิกษุ
ทั้งหลาย ปรารภพระเถรีผู้มีอุปสมบทอันได้แล้วอย่างนั้น โดยสมัยอื่น
สนทนากันว่า " อาจารย์และอุปัชฌายะของพระนางมหาปชาบดีโคตมี ย่อม
ไม่ปรากฏ, พระนางถือเอาผ้ากาสายะทั้งหลายด้วยมือของตนเอง."
ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายประพฤติรังเกียจอยู่
ย่อมไม่ทำอุโบสถ ไม่ทำปวารณาร่วมกับพระนางเลย. ภิกษุณีทั้งหลายนั้น
ไปกราบทูลเนื้อความนั้นแม้แด่พระตถาคตแล้ว.

คนที่ควรเรียกว่าพราหมณ์


พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุณีเหล่านั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ครุธรรม
8 ประการ เราให้แล้วแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี, เราเองเป็นอาจารย์
1. ภิกษุณีถึงมีพรรษาตั้ง 100 ต้องกราบไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทให้วันนั้น 1. ต้องอยู่จำพรรษา
ในอาวาสภิกษุ 1. ต้องหวังต่อธรรมทั้ง 2 คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกิ่ง
เดือน 1. ออกพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ 2 ฝ่าย 1. ต้องแสวงหาอุปสมบทแก่นางสิกขมานาผู้ศึกษาในธรรม 6 สิ้น 2 ปี
ปักขมานัตในสงฆ์ 2 ฝ่าย 1. ต้องแสวงหาอุปสมบทแก่นางสิกขมานาผู้ศึกษาในธรรม 6 สิ้น 2 ปี
แล้วในสงฆ์ 2 ฝ่าย 1. ด่าแช่งภิกษุไม่ได้ 1. ปิดทางไม่ให้ภิกษุสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุ
กล่าวสอนอย่างเดียว 1. วิ. จุลล. 7/332.