เมนู

4. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [267]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์
คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ฌายึ " เป็นต้น.

พราหมณ์ทูลถามเรื่องพราหมณ์กะพระศาสดา


ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า " พระศาสดา ตรัสเรียกสาวกของ
พระองค์ว่า ' พราหมณ์,' ส่วนเราเป็นพราหมณ์โดยชาติและโคตร, การ
ที่พระองค์จะตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง ควร." เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ทูลถามเนื้อความนั้นแล้ว .
พระศาสดาตรัสว่า " เรามิได้เรียกบุคคลว่า ' พราหมณ์' ด้วยเหตุ
สักว่าชาติและโคตร, แต่เราเรียกบุคคลผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั่นเท่า
นั้น (ว่าเป็นพราหมณ์)" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. ฌายึ วิรชมาสีนํ กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราเรียกบุคคลผู้มีความเพ่ง ผู้ปราศจากธุลี
อยู่แต่ผู้เดียว มีกิจอันกระทำแล้ว หาอาสวะมิได้
บรรลุประโยชน์อันสูงสุดแล้วนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายึ เป็นต้น ความว่า เราเรียก
บุคคลผู้เพ่งอยู่ด้วยฌาน 2 อย่าง ผู้ปราศจากธุลี ด้วยธุลีคือกาม อยู่แต่

ผู้เดียวในป่า ชื่อว่าผู้มีกิจอันกระทำแล้ว เพราะกิจ 16 อย่าง1อันตนทำ
ด้วยมรรค 4 แล้ว ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะทั้งหลาย
บรรลุประโยชน์อันสูงสุด คือพระอรหัตแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา
ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

1. ทุกข์ มีกิจ 4:- ปีฬนตฺถ ในอรรถว่าเบียดเบียน 1. สงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัย
ประชุมแต่ง 1. สนฺตาปนตฺถ ในอรรถว่าเร่าร้อน 1. วิปริณามตฺถ ในอรรถว่าแปรปรวน 1.
สมุทัย มีกิจ 4:- อายฺหนตฺถ ในอรรถว่าทำให้เกิดกองทุกข์ 1. นิทานตฺถ ในอรรถ
ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ 1. สงฺโยคตฺถ ในอรรถว่าประกอบไว้ด้วยสังสารทุกข์ 1. ปลิโพธนตฺถ
ในอรรถว่าขังอยู่ในเรือนจำคือสังสารทุกข์ 1.
นิโรธ มีกิจ 4:- นิสฺสรณตฺถ ในอรรถว่าออกจากอุปธิ 1. วิเวกตฺก ในอรรถว่าสงัด
จากหมู่คือกิเลส 1. อสงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัยประชุมแต่งไม่ได้ 1. อมตตฺถ ในอรรถว่า
เป็นอมตรส (ไม่รู้จักตาย) 1.
มรรค มีกิจ 4:- นิยฺยานตฺถ ในอรรถว่าออกจากสงสาร 1. เหตฺวตฺถ ในอรรถว่า
เป็นเหตุแห่งพระนิพพาน 1. ทสฺสนตฺถ ในอรรถว่าเห็นพระนิพพาน 1. อธิปเตยฺยตฺถ ใน
อรรถว่าเป็นอธิบดีในอันเห็นพระนิพพาน 1.

5. เรื่องพระอานนทเถระ [268]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในปราสาทของอุบาสิกาชื่อมิคารมารดา
ทรงปรารภพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทิวา ตปติ
อาทิจฺโจ "
เป็นต้น.

รัศมีของวัตถุ 5 อย่างต่างกัน


ได้ยินว่า ในวันมหาปวารณา พระเจ้าปเสนทิโกสลทรงประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ครบถ้วน ทรงถือเอาวัตถุทั้งหลายมีของหอมเป็นต้น
ได้เสด็จไปยังวิหารแล้ว .
ในขณะนั้น พระกาฬุทายีเถระนั่งเข้าฌานอยู่ที่ท้ายบริษัท. ก็คำว่า
' กาฬุทายีเถระ ' นั่น เป็นชื่อของท่านเอง. สรีระ (ของท่าน) มีสีเพียง
ดังทองคำ. ก็ในขณะนั้นพระจันทร์กำลังขึ้น, พระอาทิตย์กำลังอัสดงคต.
พระอานนท์เถระ แลดูรัศมีของพระอาทิตย์ซึ่งกำลังอัสดงคตและ
ของพระจันทร์ซึ่งกำลังขึ้น แล้วมองดูพระสรีโรภาสของพระราชา สรี-
โรภาสของพระเถระ และพระสรีโรภาสของพระตถาคต. ในท่านเหล่านั้น
พระศาสดาย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง. พระเถระถวายบังคมพระศาสดา
แล้ว กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า " ในวันนี้ เมื่อข้าพระองค์แลดูรัศมีเหล่านี้
อยู่, พระรัศมีของพระองค์เท่านั้นข้าพระองค์ชอบใจ, เพราะว่า พระสรีระ
ของพระองค์ ย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง."
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า " อานนท์ ธรรมดาพระอาทิตย์
ย่อมรุ่งเรืองในกลางวัน, พระจันทร์ ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน, พระราชา