เมนู

ปฏิญญาเพื่อต้องการแก่การอยู่ ( จำพรรษา ) ตลอดไตรมาส. พระเถระรับ
นิมนต์แล้ว.
ครั้งนั้น อุบาสกปฏิบัติพระเถระนั้นตลอดไตรมาส เป็นเหมือน
ปฏิบัติอยู่วันเดียว ในวันมหาปวารณา จึงนำไตรจีวรและอาหารวัตถุ
มีน้ำอ้อย น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว วางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ
เรียนว่า " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับเถิด ขอรับ."

ไม่รับวัตถุกลับได้สามเณร


พระเถระ. อย่าเลยอุบาสก ความต้องการด้วยวัตถุนี้ของฉัน ไม่มี.
อุบาสก. ท่านผู้เจริญ นี่ชื่อว่า วัสสาวาสิกลาภ (คือลาภอันเกิดแก่
ผู้อยู่จำพรรษา), ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับวัตถุนั้นไว้เถิด.
พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก.
อุบาสก. ท่านย่อมไม่รับเพื่ออะไร ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกับปิยการก ในสำนักของฉันก็ไม่มี.
อุบาสก. ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นมหาสุมนะเป็นบุตรของกระผม
จักเป็นสามเณร.
พระเถระ. อุบาสก ความต้องการด้วยมหาสุมนะของฉันก็ไม่มี.
อุบาสก, ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้จูฬสุมนะ
บวชเถิด.
พระเถระ. รับว่า "ดีละ" แล้วให้จูฬสุมนะบวช. จูฬสุมนะนั้น
บรรลุอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง.

พระเถระ อยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว
ลาพวกญาติของเธอว่า " พวกฉันจักเฝ้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วไปทาง
อากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในหิมวันตประเทศ.

พระเถระปรารภความเพียรเสมอ


ก็พระเถระ แม้ตามปกติเป็นผู้ปรารภความเพียร. เมื่อท่านกำลัง
จงกรมอยู่ในที่นั้น ในคืนแรกและคืนต่อมา ลมในท้องตั้งขึ้นแล้ว.
ครั้งนั้น สามเณรเห็นท่านลำบาก จึงเรียนถามว่า " ท่านขอรับ
โรคอะไร ? ย่อมเสียดแทงท่าน."
พระเถระ. ลมเสียดท้องเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว.
สามเณร. แม้ในกาลอื่น ลมเสียดท้องเคยเกิดขึ้นหรือ ขอรับ.
พระเถระ. เออ ผู้มีอายุ.
สามเณร. ความสบาย ย่อมมีด้วยอะไรเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. เมื่อฉันได้น้ำดื่มจากสระอโนดาต, ความสบายย่อมมี
ผู้มีอายุ.
สามเณร. ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น กระผมจะนำมา (ถวาย).
พระเถระ. เธอจักอาจ (นำมา) หรือ ? สามเณร.
สามเณร. อาจอยู่ ขอรับ.
พระเถระ. ถ้ากระนั้น นาคราชชื่อปันนกะ ในสระอโนดาตย่อม
รู้จักฉัน. เธอจงบอกแก่นาคราชนั้น แล้วนำขวดน้ำดื่มขวดหนึ่งมาเพื่อ
ประโยชน์แก่การประกอบยาเถิด.
เธอรับว่า " ดีละ" แล้วไหว้พระอุปัชฌายะ เหาะขึ้นสู่เวหาสได้ไป
ตลอดที่ 500 โยชน์แล้ว.