เมนู

จักไม่ได้ตรัสรู้1" เมื่อวัสสูปนายิกสมัยใกล้เข้ามาแล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุง-
ราชคฤห์ ในวันเข้าพรรษา ทรงขับไล่ท่านด้วยพระดำรัสว่า " วักกลิ
เธอจงหลีกไป." ท่านคิดว่า " พระศาสดา ไม่รับสั่งกะเรา " ไม่อาจ
เพื่อดำรงอยู่ ณ ที่ตรงพระพักตร์ของพระศาสดาได้ตลอดไตรมาส จึงคิดว่า
" ประโยชน์อะไรของเราด้วยชีวิต, เราจักให้ตนตกจากภูเขาเสีย " ดังนี้
แล้ว จึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรงทราบความเมื่อยล้าของท่าน
แล้ว ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ เมื่อไม่ได้ความปลอบโยนจากสำนักของเรา,
พึงยังอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายให้ฉิบหาย" จึงทรงเปล่งพระรัศมี
ไปแล้ว เพื่อจะทรงแสดงพระองค์ (ให้ปรากฏ).
ลำดับนั้น จำเดิมแต่เวลาท่านเห็นพระศาสดาแล้ว ความเศร้าโศก
แม้มากถึงเพียงนั้น หายไปแล้ว.
พระศาสดาเป็นประดุจว่ายังสระที่แห้งให้เต็มด้วยน้ำ เพื่อทรงยังปีติ
และปราโมทย์อันมีกำลังให้เกิดแก่พระเถระ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
11. ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ.
" ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพระ-
พุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท เป็นที่เข้าไปสงบ
สังขาร เป็นสุข."

แก้อรรถ


พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า:-
1. น พุชฺฌิสฺสติ แปลว่า จักไม่รู้สึกตัวก็ได้ อธิบายว่า มัวแต่พะวงอยู่ด้วยการดูพระรูปพระ-
ศาสดา ความรู้สึกตัว เพื่อจะทำความเพียร บรรลุธรรมพิเศษ ย่อมไม่มี.

ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ แม้โดยปกติ ย่อมปลูกความเลื่อมใสใน
พระพุทธศาสนา, ภิกษุนั่นเลื่อมใส (ในพระพุทธศาสนา) แล้วอย่างนั้น
พึงบรรลุพระนิพพานในพระพุทธศาสนา อันได้ชื่อว่า " สันตบท เป็นที่
เข้าไปสงบสังขาร เป็นสุข. "
ก็แลพระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ ได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้แก่พระวักกลิเถระว่า :-
" มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต,
เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลพยุงช้างตัวจมใน
เปือกตมขึ้นฉะนั้น. มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จง
แลดูพระตถาคต, เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลที่
ช่วยพระจันทร์ที่ถูกราหูจับฉะนั้น."

ท่านยังปีติอย่างแรงกล้าให้เกิดขึ้นแล้วว่า " เราได้เห็นพระทศพลแล้ว"
และคำร้องเรียกว่า ' มาเถิด ' จึงคิดว่า " เราพึงไปโดยทางไหนหนอ ?"
เมื่อไม่เห็นทางเป็นที่ไป จึงเหาะขึ้นไปในอากาศในที่เฉพาะพระพักตร์
พระทศพล เมื่อเท้าทีแรกตั้งอยู่ที่ภูเขานั่นแล, นึกถึงพระคาถาที่พระ-
ศาสดาตรัสแล้ว ข่มปีติได้ในอากาศนั่นแล บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ถวายบังคมพระตถาคตอยู่นั่นแล ได้ลงมายืนอยู่
ในสำนักพระศาสดาแล้ว.
ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุต ดังนี้แล.
เรื่องพระวักกลิเถระ จบ.

12. เรื่องสุมนสามเณร [263]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภสุมนสามเณร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย หเว " เป็นต้น.

บุรพกรรมของพระอนุรุทธะ


อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-
ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ
กุลบุตรผู้หนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในท่ามกลางบริษัท 4 ปรารถนาสมบัติ
นั้น จึงนิมนต์พระศาสดา ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขสิ้น 7 วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์
พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่งในอนาคต."
พระศาสดาทรงตรวจดูสิ้นแสนกัลป์ ทรงทราบความสำเร็จแห่ง
ความปรารถนาของเขาแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า " ในที่สุดแห่งแสนกัลป์
แต่ภัทรกัลป์นี้ เธอจักเป็นผู้ชื่อว่าอนุรุทธเถระ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้
ได้ทิพยจักษุ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม." เขาฟัง
คำพยากรณ์นั้นแล้ว สำคัญสมบัตินั้นดุจว่าอันตนบรรลุในวันพรุ่งนี้, เมื่อ
พระศาสดาปรินิพพานแล้ว, จึงถามการบริกรรมเพื่ออันได้ทิพยจักษุกะ
พวกภิกษุ ให้ทำโคมต้นหลายพันต้น ล้อมพระสถูปทองอัน (สูงใหญ่ได้)
7 โยชน์ แล้วให้ทำการบูชาด้วยประทีป จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน