เมนู

10. เรื่องพระวักกลิเถระ [262]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนพระวักกลิ-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ" เป็นต้น.

ผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระตถาคต


ดังได้สดับมา ท่านวักกลิเถระนั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุง-
สาวัตถี เจริญวัยแล้ว, เห็นพระตถาคตเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แลดู
พระสรีระสมบัติของพระศาสดาแล้ว ไม่อิ่มด้วยการเห็นพระสรีระสมบัติ,
จึงบรรพชาในสำนักพระศาสดา ด้วยเข้าใจว่า " เราจักได้เห็นพระตถาคต-
เจ้าเป็นนิตยกาล ด้วยอุบายนี้ " ดังนี้แล้ว, ก็ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่แล้ว
สามารถเพื่อจะแลเห็นพระทศพลได้, ละกิจวัตรทั้งหลาย มีการสาธยาย
และมนสิการในพระกัมมัฏฐานเป็นต้น เที่ยวมองดูพระศาสดาอยู่.
พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของท่านอยู่ จึงไม่ตรัส
อะไร (ต่อ) ทรงทราบว่า " บัดนี้ ญาณของเธอถึงความแก่กล้าแล้ว" จึง
ตรัสโอวาทว่า " วักกลิ ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยการเฝ้าดูกายเน่านี้,
วักกลิ คนใดแลเห็นธรรม, คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นเรา (ผู้ตถาคต) คนใด
เห็นเรา (ผู้ตถาคต), คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นธรรม. "
พระวักกลินั้น แม้อันพระศาสดาสอนแล้วอย่างนั้น ก็ไม่อาจเพื่อ
ละการดูพระศาสดาไปในที่อื่นได้เลย.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ไม่ได้ความสังเวชแล้ว

จักไม่ได้ตรัสรู้1" เมื่อวัสสูปนายิกสมัยใกล้เข้ามาแล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุง-
ราชคฤห์ ในวันเข้าพรรษา ทรงขับไล่ท่านด้วยพระดำรัสว่า " วักกลิ
เธอจงหลีกไป." ท่านคิดว่า " พระศาสดา ไม่รับสั่งกะเรา " ไม่อาจ
เพื่อดำรงอยู่ ณ ที่ตรงพระพักตร์ของพระศาสดาได้ตลอดไตรมาส จึงคิดว่า
" ประโยชน์อะไรของเราด้วยชีวิต, เราจักให้ตนตกจากภูเขาเสีย " ดังนี้
แล้ว จึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรงทราบความเมื่อยล้าของท่าน
แล้ว ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ เมื่อไม่ได้ความปลอบโยนจากสำนักของเรา,
พึงยังอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายให้ฉิบหาย" จึงทรงเปล่งพระรัศมี
ไปแล้ว เพื่อจะทรงแสดงพระองค์ (ให้ปรากฏ).
ลำดับนั้น จำเดิมแต่เวลาท่านเห็นพระศาสดาแล้ว ความเศร้าโศก
แม้มากถึงเพียงนั้น หายไปแล้ว.
พระศาสดาเป็นประดุจว่ายังสระที่แห้งให้เต็มด้วยน้ำ เพื่อทรงยังปีติ
และปราโมทย์อันมีกำลังให้เกิดแก่พระเถระ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
11. ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ.
" ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพระ-
พุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท เป็นที่เข้าไปสงบ
สังขาร เป็นสุข."

แก้อรรถ


พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า:-
1. น พุชฺฌิสฺสติ แปลว่า จักไม่รู้สึกตัวก็ได้ อธิบายว่า มัวแต่พะวงอยู่ด้วยการดูพระรูปพระ-
ศาสดา ความรู้สึกตัว เพื่อจะทำความเพียร บรรลุธรรมพิเศษ ย่อมไม่มี.