เมนู

เตือนตนด้วยตนเองแล แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
10. อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมฺตนา
โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช.
" เธอจงตักเตือนตนด้วยตน, จงพิจารณาดูตน
นั้นด้วยตน, ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว
จักอยู่สบาย. ตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตน
แหละ เป็นคติของตน; เพราะฉะนั้น เธอจงสงวน
ตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจทยตฺตานํ ความว่า จงตักเตือน
ตนด้วยตนเอง คือจงยังตนให้รู้สึกด้วยตนเอง.
บทว่า ปฏิมํเส คือตรวจตราดูตนด้วยตนเอง.
บทว่า โส เป็นต้น ความว่า ภิกษุ เธอนั้นเมื่อตักเตือนพิจารณา
ดูตนอย่างนั้นอยู่, เป็นผู้ชื่อว่า ปกครองตนได้ เพราะความเป็นผู้มีตน
ปกครองแล้วด้วยตนเอง เป็นผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
แล้ว จักอยู่สบายทุกสรรพอิริยาบถ.
บทว่า นาโถ ความว่า เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พำนัก (คนอื่นใคร
เล่า พึงเป็นที่พึ่งได้) เพราะบุคคลอาศัยในอัตภาพของผู้อื่น ไม่อาจเพื่อ
เป็นผู้กระทำกุศลแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือเป็นผู้ยังมรรค

ให้เจริญแล้ว ทำผลให้แจ้งได้; เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า " คนอื่น
ชื่อว่าใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้."
บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า เหตุที่ตนแลเป็นคติ คือเป็นที่
พำนัก ได้แก่เป็นสรณะของตน.
พ่อค้าม้าอาศัยม้าตัวเจริญ คือม้าอาชาไนยนั้น ปรารถนาลาภอยู่
จึงเกียดกันการเที่ยวไปในวิสมสถาน (ที่ไม่สมควร) แห่งม้านั้น ให้อาบน้ำ
ให้บริโภคอยู่ ตั้งสามครั้งต่อวัน ชื่อว่า ย่อมสงวน คือประดับประคอง
ฉันใด, แม้ตัวเธอ เมื่อป้องกันความเกิดขึ้นแห่งอกุศลซึ่งยังไม่เกิด ขจัด
ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะการหลงลืมสติเสีย (ก็) ชื่อว่า สงวนคือปกครองตน
ฉันนั้น; เมื่อเธอสงวนตนได้อย่างนี้อยู่ เธอจักบรรลุคุณพิเศษทั้งที่เป็น
โลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ เริ่มแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระนังคลกูฏเถระ จบ.

10. เรื่องพระวักกลิเถระ [262]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนพระวักกลิ-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ" เป็นต้น.

ผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระตถาคต


ดังได้สดับมา ท่านวักกลิเถระนั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุง-
สาวัตถี เจริญวัยแล้ว, เห็นพระตถาคตเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แลดู
พระสรีระสมบัติของพระศาสดาแล้ว ไม่อิ่มด้วยการเห็นพระสรีระสมบัติ,
จึงบรรพชาในสำนักพระศาสดา ด้วยเข้าใจว่า " เราจักได้เห็นพระตถาคต-
เจ้าเป็นนิตยกาล ด้วยอุบายนี้ " ดังนี้แล้ว, ก็ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่แล้ว
สามารถเพื่อจะแลเห็นพระทศพลได้, ละกิจวัตรทั้งหลาย มีการสาธยาย
และมนสิการในพระกัมมัฏฐานเป็นต้น เที่ยวมองดูพระศาสดาอยู่.
พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของท่านอยู่ จึงไม่ตรัส
อะไร (ต่อ) ทรงทราบว่า " บัดนี้ ญาณของเธอถึงความแก่กล้าแล้ว" จึง
ตรัสโอวาทว่า " วักกลิ ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยการเฝ้าดูกายเน่านี้,
วักกลิ คนใดแลเห็นธรรม, คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นเรา (ผู้ตถาคต) คนใด
เห็นเรา (ผู้ตถาคต), คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นธรรม. "
พระวักกลินั้น แม้อันพระศาสดาสอนแล้วอย่างนั้น ก็ไม่อาจเพื่อ
ละการดูพระศาสดาไปในที่อื่นได้เลย.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ไม่ได้ความสังเวชแล้ว