เมนู

ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น คิดกันว่า " พวกเราจักสอบสวนภิกษุนั้น " จึงถาม
ว่า " ผู้มีอายุ พวกญาติของท่านอยู่ที่ไหน ?" ได้ฟังว่า " อยู่ในบ้านชื่อ
โน้น " จึงส่งภิกษุหนุ่มไป 2-3 รูป.
ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นไปในบ้านนั้นแล้ว อันชนชาวบ้านนิมนต์ให้นั่ง
ที่โรงฉันแล้วกระทำสักการะ จึงถามว่า เด็กหนุ่มชื่อติสสะออกจากบ้าน
นี้ไปบวชแล้ว มีอยู่หรือ ? ชนเหล่าไหนเป็นญาติของติสสะนั้น." มนุษย์
ทั้งหลาย (ต่าง) คิดว่า " ในบ้านนี้ เด็กผู้ออกจากเรือนแห่งตระกูลไป
บวชแล้ว ไม่มี; ภิกษุเหล่านั้น พูดถึงใครหนอ ?" แล้วเรียนว่า " ท่านขอรับ
กระผมทั้งหลายได้ยินว่า ' บุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับพวก
ช่างไม้ บวชแล้ว;' ท่านทั้งหลายเห็นจะกล่าวหมายเอาผู้นั้นกระมัง ?"

จับโกหกได้


ภิกษุหนุ่มทั้งหลายทราบว่า พวกญาติผู้ใหญ่ของติสสภิกษุหนุ่มนั้น
ไม่มีในบ้านนั้นแล้ว (จึงพากัน) กลับไปสู่พระนครสาวัตถี แจ้งเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า " ท่านผู้เจริญ พระติสสะย่อมเที่ยวพูดเพ้อถึงสิ่งอัน
หาเหตุมิได้เลย." แม้ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระ-
ตถาคต.

บุรพกรรมของพระติสสะ


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าติสสะนั้นย่อมเที่ยว
โอ้อวด ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้; แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โอ้อวด
แล้ว," อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ทรง
ยังกฏาหกชาดก1นี้ให้พิสดารว่า :-
1. ขุ. ชา. 27/40. อรรถกถา. 2/326.

"นายกฏาหกนั้น ไปสู่ชนบทอื่น จึงพูดอวดซึ่ง
ทรัพย์แม้มาก, นายมาตามแล้ว พึงประทุษร้าย,
กฏาหก ท่านจงบริโภคโภคะทั้งหลายเถิด."

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดเมื่อชนเหล่าอื่นให้ซึ่งวัตถุ
น้อยก็ตาม มากก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม หรือให้วัตถุแก่
ชนเหล่าอื่น (แต่) ไม่ให้แก่ตน ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน; ฌานก็ดี วิปัสสนา
ก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรมได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
8. ททาติ เว ยถาสทฺธํ ยถาปสาทนํ ชโน
ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ ปเรสํ ปานโภชเน
น โส ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.
ยสฺสเจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ
ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.

"ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความ
เลื่อมใสแล, ชนใด ย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำ
และข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น, ชนนั้นย่อมไม่บรรลุ
สมาธิในกลางวันหรือในกลางคืน. ก็อกุศลธรรมอัน
บุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว,
บุคคลนั้นแล ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือใน
กลางคืน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ททาติ เว ยถาสทฺธํ ความ
ว่า ชนเมื่อให้บรรดาวัตถุมีของเศร้าหมองและประณีตเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมให้ตามศรัทธา คือ ตามสมควรแก่ศรัทธาของตน
นั่นแล.
บทว่า ยถาปสาทนํ ความว่า ก็บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระและภิกษุ
ใหม่เป็นต้น ความเลื่อมใสในภิกษุใด ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น, เมื่อ
ถวาย (ทาน) แก่ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมถวายตามความเลื่อมใส คือตาม
สมควรแก่ความเลื่อมใสของตนนั่นแล.
บทว่า ตตฺถ เป็นต้น ความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้เก้อเขินในเพราะ
ทานของชนอื่นนั้นว่า " เราได้วัตถุเล็กน้อย, เราได้ของเศร้าหมอง."
บทว่า สมาธึ เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิด้วย
สามารถแห่งอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือด้วยสามารถแห่งมรรค
และผล ในกลางวันหรือในกลางคืน.
สองบทว่า ยสฺส เจตํ ความว่า อกุศลกรรมนั่น กล่าวคือความ
เป็นผู้เก้อเขินในฐานะเหล่านั้น อันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้น ทำให้มี
รากขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ. บุคคลนั้นย่อมบรรลุสมาธิ มีประการ
ดังกล่าวแล้ว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ จบ.