เมนู

" เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้าอยากจะนุ่งห่มผ้าขี้ริ้วผืนนี้ สึกไปทำการ
รับจ้างเลี้ยงชีพ (หรือ)." เมื่อท่านโอวาทคนอยู่อย่างนั้นแล จิตถึงความ
เป็นธรรมชาติเบา (คลายกระสัน ) แล้ว.
ท่านกลับมาแล้ว โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน ก็กระสันขึ้นอีก จึง
สอนตนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล, ท่านกลับใจได้อีก. ในเวลากระสันขึ้นมา
ท่านไปในที่นั้นแล้ว โอวาทตนโดยทำนองนี้แล.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านไปอยู่ในที่นั้นเนือง ๆ จึงถามว่า
" ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุไร ท่านจึงไปในที่นั้น."
ท่านตอบว่า " ผมไปยังสำนักอาจารย์ ขอรับ " ดังนี้แล้วต่อมา
2-3 วันเท่านั้น (ก็) บรรลุพระอรหัตผล.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่าน จึงกล่าวว่า " ท่าน
นังคลกูฏะผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่าน เป็นประหนึ่งหารอยมิได้
แล้ว, ชะรอยท่านจะไม่ไปยังสำนักของอาจารย์อีกกระมัง"
พระเถระ. อย่างนั้น ขอรับ: เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่
ผมได้ไปแล้ว, แต่บัดนี้ กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ผมตัดเสียได้แล้ว เพราะ-
ฉะนั้น ผมจึงไม่ไป.
ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำตอบนั้นแล้ว เข้าใจว่า " ภิกษุนี่ พูดไม่จริง
พยากรณ์พระอรหัตผล" ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่
พระศาสดา.

ภิกษุควรเป็นผู้เตือนตน


พระศาสดาตรัสว่า " เออ ภิกษุทั้งหลาย นังคลกูฏะบุตรของเรา

เตือนตนด้วยตนเองแล แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
10. อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมฺตนา
โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช.
" เธอจงตักเตือนตนด้วยตน, จงพิจารณาดูตน
นั้นด้วยตน, ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว
จักอยู่สบาย. ตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตน
แหละ เป็นคติของตน; เพราะฉะนั้น เธอจงสงวน
ตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจทยตฺตานํ ความว่า จงตักเตือน
ตนด้วยตนเอง คือจงยังตนให้รู้สึกด้วยตนเอง.
บทว่า ปฏิมํเส คือตรวจตราดูตนด้วยตนเอง.
บทว่า โส เป็นต้น ความว่า ภิกษุ เธอนั้นเมื่อตักเตือนพิจารณา
ดูตนอย่างนั้นอยู่, เป็นผู้ชื่อว่า ปกครองตนได้ เพราะความเป็นผู้มีตน
ปกครองแล้วด้วยตนเอง เป็นผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
แล้ว จักอยู่สบายทุกสรรพอิริยาบถ.
บทว่า นาโถ ความว่า เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พำนัก (คนอื่นใคร
เล่า พึงเป็นที่พึ่งได้) เพราะบุคคลอาศัยในอัตภาพของผู้อื่น ไม่อาจเพื่อ
เป็นผู้กระทำกุศลแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือเป็นผู้ยังมรรค