เมนู

10. เรื่องพระนังคลกูฏเถระ [261]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนังคลกูฏ-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตนา โจทยตฺตานํ " เป็นต้น.

คนเข็ญใจบวชในพระพุทธศาสนา


ดังได้สดับมา มนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง ทำการรับจ้างของชนเหล่าอื่น
เลี้ยงชีพ. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่า แบกไถ เดินไปอยู่ จึง
พูดอย่างนี้ว่า " ก็เธอบวช จะไม่ประเสริฐกว่าการเป็นอยู่อย่างนี้หรือ."
มนุษย์เข็ญใจ. ใครจักให้กระผมผู้เป็นอยู่อย่างนี้บวชเล่าขอรับ.
ภิกษุ. หากเธอจักบวช, ฉันก็จักให้เธอบวช.
มนุษย์เข็ญใจ. " ดีละ ขอรับ, ถ้าท่านจักให้กระผมบวช กระผม
ก็จักบวช."
ครั้งนั้น พระเถระนำเขาไปสู่พระเชตวัน แล้วให้อาบน้ำด้วยมือ
ของตน พักไว้ในโรงแล้วให้บวช ให้เขาเก็บไถ พร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่
เขานุ่ง ไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้นแล. แม้ในเวลาอุปสมบท เธอ
ได้ปรากฏชื่อว่า " นังคลกูฏเถระ" นั่นแล.

ภิกษุมีอุบายสอนตนเองย่อมระงับความกระสัน


พระนังคลกูฏเถระนั้น อาศัยลาภสักการะซึ่งเกิดขึ้นเพื่อพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพอยู่ กระสันขึ้นแล้ว เมื่อไม่สามารถเพื่อจะบรรเทาได้
จึงตกลงใจว่า " บัดนี้ เราจักไม่นุ่งห่มผ้ากาสายะทั้งหลายที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาไปละ" ดังนี้แล้ว ก็ไปยังโคนต้นไม้ ให้โอวาทตนด้วยตนเองว่า

" เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้าอยากจะนุ่งห่มผ้าขี้ริ้วผืนนี้ สึกไปทำการ
รับจ้างเลี้ยงชีพ (หรือ)." เมื่อท่านโอวาทคนอยู่อย่างนั้นแล จิตถึงความ
เป็นธรรมชาติเบา (คลายกระสัน ) แล้ว.
ท่านกลับมาแล้ว โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน ก็กระสันขึ้นอีก จึง
สอนตนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล, ท่านกลับใจได้อีก. ในเวลากระสันขึ้นมา
ท่านไปในที่นั้นแล้ว โอวาทตนโดยทำนองนี้แล.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านไปอยู่ในที่นั้นเนือง ๆ จึงถามว่า
" ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุไร ท่านจึงไปในที่นั้น."
ท่านตอบว่า " ผมไปยังสำนักอาจารย์ ขอรับ " ดังนี้แล้วต่อมา
2-3 วันเท่านั้น (ก็) บรรลุพระอรหัตผล.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่าน จึงกล่าวว่า " ท่าน
นังคลกูฏะผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่าน เป็นประหนึ่งหารอยมิได้
แล้ว, ชะรอยท่านจะไม่ไปยังสำนักของอาจารย์อีกกระมัง"
พระเถระ. อย่างนั้น ขอรับ: เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่
ผมได้ไปแล้ว, แต่บัดนี้ กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ผมตัดเสียได้แล้ว เพราะ-
ฉะนั้น ผมจึงไม่ไป.
ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำตอบนั้นแล้ว เข้าใจว่า " ภิกษุนี่ พูดไม่จริง
พยากรณ์พระอรหัตผล" ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่
พระศาสดา.

ภิกษุควรเป็นผู้เตือนตน


พระศาสดาตรัสว่า " เออ ภิกษุทั้งหลาย นังคลกูฏะบุตรของเรา