เมนู

ภิกษุควรเป็นผู้สงบ


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงบทางทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้นโดยแท้
เหมือนสันตกายเถระฉะนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. สนฺตกาโย สนฺตวาโจ สนฺตมโน สุสมาหิโต
วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ อุปสนฺโตติ วุจฺจติ.
" ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ ผู้
ตั้งมั่นดีแล้ว มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว เรา
เรียกว่า " ผู้สงบระงับ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตกาโย เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า
ผู้มีกายสงบแล้ว เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น.
ชื่อว่า ผู้มีวาจาสงบแล้ว เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลาย มีมุสาวาท
เป็นต้น, ชื่อว่า มีใจสงบแล้ว เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลายมี
อภิชฌาเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว เพราะความที่ทวารทั้ง 3 มีกาย
เป็นต้นตั้งมั่นแล้วด้วยดี, ชื่อว่า มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เพราะความ
ที่อามิสในโลกเป็นของอันตนสำรอกเสียแล้วด้วยมรรค 4, พระศาสดา
ตรัสเรียกว่า ' ชื่อว่าผู้สงบ ' เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นใน
ภายในสงบระงับแล้ว.
ในกาลจบเทศนา พระเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนาได้
เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระสันตกายเถระ จบ.

10. เรื่องพระนังคลกูฏเถระ [261]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนังคลกูฏ-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตนา โจทยตฺตานํ " เป็นต้น.

คนเข็ญใจบวชในพระพุทธศาสนา


ดังได้สดับมา มนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง ทำการรับจ้างของชนเหล่าอื่น
เลี้ยงชีพ. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่า แบกไถ เดินไปอยู่ จึง
พูดอย่างนี้ว่า " ก็เธอบวช จะไม่ประเสริฐกว่าการเป็นอยู่อย่างนี้หรือ."
มนุษย์เข็ญใจ. ใครจักให้กระผมผู้เป็นอยู่อย่างนี้บวชเล่าขอรับ.
ภิกษุ. หากเธอจักบวช, ฉันก็จักให้เธอบวช.
มนุษย์เข็ญใจ. " ดีละ ขอรับ, ถ้าท่านจักให้กระผมบวช กระผม
ก็จักบวช."
ครั้งนั้น พระเถระนำเขาไปสู่พระเชตวัน แล้วให้อาบน้ำด้วยมือ
ของตน พักไว้ในโรงแล้วให้บวช ให้เขาเก็บไถ พร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่
เขานุ่ง ไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้นแล. แม้ในเวลาอุปสมบท เธอ
ได้ปรากฏชื่อว่า " นังคลกูฏเถระ" นั่นแล.

ภิกษุมีอุบายสอนตนเองย่อมระงับความกระสัน


พระนังคลกูฏเถระนั้น อาศัยลาภสักการะซึ่งเกิดขึ้นเพื่อพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพอยู่ กระสันขึ้นแล้ว เมื่อไม่สามารถเพื่อจะบรรเทาได้
จึงตกลงใจว่า " บัดนี้ เราจักไม่นุ่งห่มผ้ากาสายะทั้งหลายที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาไปละ" ดังนี้แล้ว ก็ไปยังโคนต้นไม้ ให้โอวาทตนด้วยตนเองว่า