เมนู

ภิกษุควรเป็นผู้สงบ


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงบทางทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้นโดยแท้
เหมือนสันตกายเถระฉะนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. สนฺตกาโย สนฺตวาโจ สนฺตมโน สุสมาหิโต
วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ อุปสนฺโตติ วุจฺจติ.
" ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ ผู้
ตั้งมั่นดีแล้ว มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว เรา
เรียกว่า " ผู้สงบระงับ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตกาโย เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า
ผู้มีกายสงบแล้ว เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น.
ชื่อว่า ผู้มีวาจาสงบแล้ว เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลาย มีมุสาวาท
เป็นต้น, ชื่อว่า มีใจสงบแล้ว เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลายมี
อภิชฌาเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว เพราะความที่ทวารทั้ง 3 มีกาย
เป็นต้นตั้งมั่นแล้วด้วยดี, ชื่อว่า มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เพราะความ
ที่อามิสในโลกเป็นของอันตนสำรอกเสียแล้วด้วยมรรค 4, พระศาสดา
ตรัสเรียกว่า ' ชื่อว่าผู้สงบ ' เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นใน
ภายในสงบระงับแล้ว.
ในกาลจบเทศนา พระเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนาได้
เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระสันตกายเถระ จบ.