เมนู

8. เรื่องภิกษุประมาณ 500 รูป [259]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุประมาณ
500 รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ" เป็นต้น.
ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-
ศาสดา บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า เห็นดอกมะลิที่บานแล้วแต่เช้าตรู่
หลุดออกจากขั้วในเวลาเย็น จึงพากันพยายาม ด้วยหวังว่า " พวกเราจัก
หลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ก่อนกว่าดอกไม้ทั้งหลายหลุดออกจากขั้ว.

ภิกษุควรพยายามให้หลุดพ้นจากวัฏทุกข์


พระศาสดาทรงตรวจดูภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาภิกษุพึงพยายามเพื่อหลุดพ้นจากวัฏทุกข์ให้ได้ ดุจดอกไม้ที่หลุด
จากขั้วฉะนั้น." ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีไป
แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
8. วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ มทฺทวานิ ปมุญฺจติ
เอวํ ราคญฺจ โทสญฺจ วิปฺปมุญฺเจถ ภิกฺขโว.
" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะและ
โทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อยดอกทั้งหลายที่
เหี่ยวเสียฉะนั้น."

แก้อรรถ


มะลิ ชื่อว่า วสฺสิกา ในพระคาถานั้น.
บทว่า มชฺชวานิ1 แปลว่า เหี่ยวแล้ว.
1. สี. ยุ. มทฺทวานิ. ม. มจฺจวานิ. บาลี มทฺทวานิ.

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า :-
" มะลิเครือ ย่อมปล่อยคือย่อมสลัดซึ่งดอกที่บานแล้วในวันวาน ใน
วันรุ่งขึ้นเป็นดอกไม้เก่า เสียจากขั้วฉันใด; แม้ท่านทั้งหลายก็จงปลด-
เปลื้องโทษทั้งหลายมีราคะเป็นต้นฉันนั้นเถิด."
ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุประมาณ 500 รูป จบ.

9. เรื่องพระสันตกายเถระ [260]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสันตกาย-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สนฺตกาโย " เป็นต้น.

พระเถระเคยเกิดเป็นราชสีห์


ดังได้สดับมา ชื่อว่าการคะนองมือและเท้าของพระเถระนั้น มิได้
มีแล้ว. ท่านได้เป็นผู้เว้นจากการบิดกาย เป็นผู้มีอัตภาพสงบ.
ได้ยินว่า พระเถระนั้นมาจากกำเนิดแห่งราชสีห์. นัยว่า ราชสีห์
ทั้งหลาย ถือเอาอาหารในวันหนึ่งแล้ว เข้าไปสู่ถ้ำเงิน ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว
มณี และถ้ำแก้วประพาฬ ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง นอนที่จุรณแห่งมโนศิลา และ
หรดาลตลอด 7 วัน ในวันที่ 7 ลุกขึ้นแล้ว ตรวจดูที่แห่งตนนอนแล้ว,
ถ้าเห็นว่าจุรณแห่งมโนศิลาและหรดาลกระจัดกระจายแล้ว เพราะความที่
หาง หู หรือเท้าอันตัวกระดิกแล้ว จึงคิดว่า " การทำเช่นนี้ ไม่สมควร
แก่ชาติหรือโคตรของเจ้า" แล้วก็นอนอดอาหารไปอีกตลอด 7 วัน; แต่
เมื่อไม่มีความที่จุรณทั้งหลายยกระจัดกระจายไป จึงคิดว่า " การทำเช่นนี้
สมควรแก่ชาติและโคตรของเจ้า " ดังนี้แล้ว ก็ออกจากที่อาศัย บิดกาย
ชำเลืองดูทิศทั้งหลาย บันลือสีหนาท 3 ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน. ภิกษุ
นี้มาแล้วโดยกำเนิดแห่งราชสีห์เห็นปานนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เห็นความประพฤติเรียบร้อยทางกายของท่าน จึง
กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุผู้เช่นกับพระสันตกายเถระ
พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็นแล้ว, ก็การคะนองมือ คะนองเท้า หรือการ
บิดกายของภิกษุนี้ ในที่แห่งภิกษุนี้นั่งแล้ว มิได้มี."