เมนู

นั้น เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย, ธรรม
นี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ 1 ความสันโดษ 1
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ 1 เป็นเบื้องต้นใน
ธรรมอันไม่ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระ-
ศาสนานี้. เธอจงคบมิตรที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมด
จด มีเกียจคร้าน. ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิ-
สันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ; เพราะเหตุนั้น
เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตาวิหารี ความว่า บุคคลผู้ทำกรรม
ในพระกัมมัฏฐานอันประกอบด้วยเมตตาอยู่ก็ดี ผู้ยังฌานหมวด 3 และ
หมวด 4 ให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาแล้วดำรงอยู่ก็ดี ชื่อว่า ผู้มีปกติ
อยู่ด้วยเมตตาโดยแท้.
คำว่า ปสนฺโน ความว่า ก็ภิกษุใดเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว, อธิบายว่า
ย่อมปลูกฝังความเลื่อมใสลงในพระพุทธศาสนานั่นแล.
สองบทว่า ปทํ สนฺตํ นั่น เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน. จริงอยู่ ภิกษุ
ผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุ, อธิบายว่า ย่อมประสบโดยแท้ ซึ่งพระนิพพาน
อันเป็นส่วนแห่งความสงบ ชื่อว่าเป็นที่เข้าไประงับสังขาร เพราะความ
ที่สังขารทั้งปวงเป็นสภาพระงับแล้ว ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า ' สุข ' เพราะ
ความเป็นสุขอย่างยิ่ง.

บาทพระคาถาว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ความว่า ภิกษุเธอจงวิด
เรือ กล่าวคืออัตภาพนี้ ซึ่งมีน้ำคือมิจฉาวิตกทิ้งเสีย.
บาทพระคาถาว่า สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ ความว่า เหมือนอย่างว่า
เรือที่เพียบแล้วด้วยน้ำในมหาสมุทรนั่นแล ชื่อว่าอันเขาวิดแล้ว เพราะ
ความที่น้ำอันเขาปิดช่องทั้งหลายวิดแล้ว เป็นเรือที่เบา ไม่อัปปางใน
มหาสมุทร ย่อมแล่นไปถึงท่าได้เร็วฉันใด; เรือคืออัตภาพแม้ของท่านนี้
ที่เต็มแล้วด้วยน้ำคือมิจฉาวิตกก็ฉันนั้น ชื่อว่าอันเธอวิดแล้ว เพราะความ
ที่น้ำคือมิจฉาวิตก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว อันเธอปิดช่องทั้งหลายมีจักษุทวาร
เป็นต้น ด้วยความสำรวม วิดออกแล้วจึงเบา ไม่จมลงในสังสารวัฏ จัก
พลันถึงพระนิพพาน.
บทว่า เฉตฺวา เป็นต้น ความว่า เธอจงตัดเครื่องผูกคือราคะและ
โทสะ, ครั้นตัดเครื่องผูกเหล่านั้นแล้ว จักบรรลุพระอรหัต, อธิบายว่า
แต่นั้น คือในกาลต่อมา จักบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.
สองบทว่า ปญฺจ ฉินฺเท คือ พึงตัดสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องต่ำ
5 อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงอบายชั้นต่ำ ด้วยหมวด 3 แห่งมรรคชั้นต่ำ ดุจ
บุรุษตัดเชือกอันผูกแล้วที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น.
สองบทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละ คือทิ้ง, อธิบายว่า พึงตัด
สังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องบน 5 อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลกชั้นสูง
ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกอันรัดไว้ที่คอฉะนั้น.
บาทพระคาถาว่า ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย คือ พึงยังอินทรีย์ 5 มี
ศรัทธาเป็นต้นให้เจริญยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์อันมีในส่วน
เบื้องบน.

บทว่า ปญฺจสงฺคาติโค ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุชื่อว่าผู้ล่วง
กิเลสเครื่องข้อง 5 อย่างได้ เพราะก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือราคะ
โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ 5 อย่าง พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้าม
โอฆะได้;" อธิบายว่า ภิกษุนั้น พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้ามโอฆะ
4 ได้แท้จริง."
สองบทว่า ฌาย ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุ เธอจงเพ่งด้วยอำนาจแห่ง
ฌาน1 2 และชื่อว่า อย่าประมาทแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปกติไม่ประมาท
ในกายกรรมเป็นต้นอยู่.
บทว่า ภมสฺสุ คือ จิตของเธอ จงอย่าหมุนไปในกามคุณ 5 อย่าง.
บทว่า มา โลหคุฬํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้วด้วยความ
เลินเล่อมีปล่อยสติเป็นลักษณะ ย่อมกลืนกินก้อนโลหะที่ร้อนแล้วในนรก,
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวกะเธอ: เธออย่าเป็นผู้ประมาท กลืนกินก้อน
โลหะ, อย่าถูกไฟแผดเผาในนรก คร่ำครวญว่า " นี้ทุกข์ นี้ทุกข์."
สองบทว่า นตฺถิ ฌานํ ความว่า ชื่อว่าฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้หา
ปัญญามิได้ ด้วยปัญญาเป็นเหตุพยายามอันยังฌานให้เกิดขึ้น.
สองบทว่า นตฺถิ ปญฺญา ความว่า ก็ปัญญาซึ่งมีลักษณะที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความ
เป็นจริง" ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่เพ่ง.
บาทพระคาถาว่า ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ความว่า ฌานและ
ปัญญาแม้ทั้งสองนี้มีอยู่ในบุคคลใด, บุคคลนั้นชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้
แห่งพระนิพพานโดยแท้ทีเดียว.
1. อารัมมณปนิชฌาน และลักขณปนิชฌาน.

บาทพระคาถาว่า สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส คือ ผู้ไม่ละพระกัมมัฏฐาน
นั่งอยู่ ด้วยการทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจในโอกาสที่สงัดบางแห่งนั่นแล.
บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส คือ ผู้มีจิตอันสงบแล้ว.
บทว่า สมฺมา เป็นต้น ความว่า ความยินดีมิใช่เป็นของมีอยู่แห่ง
มนุษย์ กล่าวคือวิปัสสนาก็ดี ความยินดีอันเป็นทิพย์ กล่าวคือสมาบัติ 8
ก็ดี ย่อมมี อธิบายว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยเหตุ
โดยการณ์.
บาทพระคาถาว่า ยโต ยโต สมฺมสติ ความว่า ทำกรรมใน
อารมณ์ 38 ประการ โดยอาการใด ๆ, คือทำกรรมในกาลทั้งหลาย
มีกาลก่อนภัตเป็นต้น ในกาลใด ๆ ที่ตนชอบใจแล้ว, หรือทำกรรมใน
พระกัมมัฏฐานที่ตนชอบใจแล้ว ชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็น.
บทว่า อุทยพฺพยํ คือ ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ 5 โดยลักษณะ
251 และความเสื่อมแห่งขันธ์ 5 โดยลักษณะ 252 เหมือนกัน.
บทว่า ปีติปาโมชฺชํ คือ เมื่อพิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอย่างนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมได้ปีติในธรรมและปราโมทย์ใน
ธรรม.
บทว่า อมตํ ความว่า เมื่อนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย เป็นสภาพ
ปรากฏตั้งขึ้นอยู่ ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ชื่อว่าเป็นอมตะของ
1. รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชา. 2. . .เพราะตัณหา. 3. . .เพราะกรรม. 4. . .เพราะอาหาร
5. ความเกิดขึ้นของรูปอย่างเดียว ไม่อาศัยเหตุปัจจัย. ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็เหมือนกัน ต่างแต่ข้อ 4 ให้เปลี่ยนว่า เกิดขึ้นเพราะผัสสะ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะนามรูป 5x5
จึงเป็น 25. 2. ในลักษณะความเสื่อม พึงทราบโดยนับตรงกันข้าม.

ท่านผู้รู้ทั้งหลาย คือของผู้เป็นบัณฑิตโดยแท้ เพราะความที่ปีติและ
ปราโมทย์เป็นธรรมที่ให้สัตว์ถึงอมตมหานิพพาน.
บาทพระคาถาว่า ตตฺรายมาทิ ภวติ คือ นี้เป็นเบื้องต้น คือปีติ
และปราโมทย์นี้ เป็นฐานะมีในเบื้องต้นในอมตธรรมนั้น.
สองบทว่า อิธ ปญฺญสฺส คือ แก่ภิกษุผู้ฉลาดในพระศาสนานี้.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงฐานะอันมีในเบื้องต้นที่พระองค์
ตรัสว่า " อาทิ " นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า " อินฺทฺริยคุตฺติ. " จริงอยู่
ปาริสุทธิศีล 4 ชื่อว่า เป็นฐานะมีในเบื้องต้น.
ความสำรวมอินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยคุตฺติ ในพระคาถานั้น. ความ
สันโดษด้วยปัจจัย 4 ชื่อว่า สนฺตุฏฺฐิ อาชีวปาริสุทธิศีลและปัจจยสัน-
นิสิตศีล พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า สนฺตุฏฺฐิ นั้น.
ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลที่ประเสริฐสุด กล่าวคือพระปาติ-
โมกข์ พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า ปาติโมกฺเข.
บาทพระคาถาว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ความว่า ท่านละสหาย
ผู้ไม่สมควร มีการงานอันสละแล้ว จงคบ คือ จงเสพ มิตรที่ดีงาม ผู้
ชื่อว่า มีอาชีวะอันบริสุทธิ์ เพราะมีชีวิตประกอบด้วยสาระ และชื่อว่า ผู้ไม่
เกียจคร้าน เพราะอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ.
บาทพระคาถาว่า ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส คือ พึงเป็นผู้ชื่อว่าประพฤติ
ในปฏิสันถาร เพราะความเป็นผู้ประพฤติเต็มที่แล้วด้วยอามิสปฏิสันถาร
และธรรมปฏิสันถาร, อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำปฏิสันถาร.
บทว่า อาจารกุสโล ความว่า แม้ศีลก็ชื่อว่า มรรยาท ถึงวัตรปฏิวัตร

ก็ชื่อว่า มรรยาท, พึงเป็นผู้ฉลาด, อธิบายว่า พึงเป็นผู้เฉียบแหลม ใน
มรรยาทนั้น.
บาทพระคาถาว่า ตโต ปาโมชฺชพหุโล ความว่า เธอชื่อว่าเป็นผู้
มากด้วยปราโมทย์ เพราะความเป็นผู้บันเทิงในธรรม อันเกิดขึ้นแล้วจาก
การประพฤติปฏิสันถาร และจากความเป็นผู้ฉลาดในมรรยาทนั้น จักทำ
ที่สุดแห่งวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นได้.
บรรดาบทพระคาถาเหล่านี้ ที่พระศาสดาทรงแสดงด้วยอย่างนี้ ใน
กาลจบพระคาถาหนึ่ง ๆ ภิกษุร้อยหนึ่ง ๆ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในที่แห่งตนนั่งแล้ว ๆ นั่นแล เหาะขึ้นไปสู่เวหาส
แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก้าวล่วงทางกันดาร 120 โยชน์ทางอากาศ
นั่นแล ชมเชยพระสรีระซึ่งมีสีดุจทองของพระตถาคตเจ้า ถวายบังคม
พระบาทแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสัมพหุลภิกษุ จบ.

8. เรื่องภิกษุประมาณ 500 รูป [259]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุประมาณ
500 รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ" เป็นต้น.
ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-
ศาสดา บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า เห็นดอกมะลิที่บานแล้วแต่เช้าตรู่
หลุดออกจากขั้วในเวลาเย็น จึงพากันพยายาม ด้วยหวังว่า " พวกเราจัก
หลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ก่อนกว่าดอกไม้ทั้งหลายหลุดออกจากขั้ว.

ภิกษุควรพยายามให้หลุดพ้นจากวัฏทุกข์


พระศาสดาทรงตรวจดูภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาภิกษุพึงพยายามเพื่อหลุดพ้นจากวัฏทุกข์ให้ได้ ดุจดอกไม้ที่หลุด
จากขั้วฉะนั้น." ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีไป
แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
8. วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ มทฺทวานิ ปมุญฺจติ
เอวํ ราคญฺจ โทสญฺจ วิปฺปมุญฺเจถ ภิกฺขโว.
" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะและ
โทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อยดอกทั้งหลายที่
เหี่ยวเสียฉะนั้น."

แก้อรรถ


มะลิ ชื่อว่า วสฺสิกา ในพระคาถานั้น.
บทว่า มชฺชวานิ1 แปลว่า เหี่ยวแล้ว.
1. สี. ยุ. มทฺทวานิ. ม. มจฺจวานิ. บาลี มทฺทวานิ.