เมนู

พวกโจรได้ไปยืนอยู่ในที่เป็นที่ฟังธรรม. ฝ่ายพระเถระแสดงธรรม
แล้ว เมื่อราตรีสว่าง จึงลงจากอาสนะ. ในขณะนั้นหัวหน้าโจรหมอบลง
แทบเท้าของอุบาสิกา พูดว่า " คุณนาย โปรดอดโทษแก่ผมเถิด."
อุบาสิกา. นี้อะไรกัน ? พ่อ.
หัวหน้าโจร. ผมผูกอาฆาตในคุณนาย ประสงค์จะฆ่าคุณนาย จึง
ได้ยืน (คุม) อยู่.
อุบาสิกา. พ่อ ถ้าเช่นนั้น ฉันอดโทษให้.

พวกโจรเลื่อมใสขอบวชกะพระโสณะ


แม้พวกโจรที่เหลือ ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่ออุบาสิกาพูดว่า
" พ่อทั้งหลาย ฉันอดโทษให้" จึงพูดว่า " คุณนาย ถ้าว่าคุณนายอดโทษ
แก่พวกผมไซร้, ขอคุณนายให้ ๆ บรรพชาแก่พวกผม ในสำนักแห่งบุตร
ของคุณนายเถิด." อุบาสิกานั้นไหว้บุตรแล้ว พูดว่า " พ่อ โจรพวกนี้
เลื่อมใสในคุณของโยม และธรรมกถาของคุณแล้ว จึงพากันขอบรรพชา,
ขอคุณจงให้โจรพวกนี้บวชเถิด. "
พระเถระพูดว่า " ดีละ " แล้วให้ตัดชายผ้าที่โจรเหล่านั้นนุ่งแล้ว
ให้ย้อมด้วยดินแดง ให้พวกเขาบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล. แม้ในเวลาที่
พวกเขาอุปสมบทแล้ว พระเถระได้ให้พระกัมมัฏฐานต่าง ๆ แก่ภิกษุเหล่า
นั้นร้อยละอย่าง. ภิกษุ 900 รูปนั้นเรียนพระกัมมัฏฐาน 9 อย่างต่าง ๆ กัน
แล้วพากันขึ้นไปสู่ภูเขาลูกหนึ่ง นั่งทำสมณธรรมใต้ร่มไม้นั้น ๆ แล้ว.
พระศาสดา ประทับนั่งอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารอันไกลกันได้ 120
โยชน์นั่นแล ทรงเล็งดูภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงกำหนดพระธรรมเทศนา
ด้วยอำนาจแพ่งความประพฤติของเธอเหล่านั้น ทรงเปล่งพระรัศมีไป

ประหนึ่งว่าประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า ได้ทรงภาษิตพระคาถา
เหล่านี้ว่า :-
7. เมตฺตาวิหารี โย ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน
อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ.
สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ
เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ตโต นิพฺพานเมหิสิ.
ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย
ปญฺจสงฺคาติโค ภิกฺขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ.
ฌาย ภิกฺขุ มา จ ปมาโท
มา เต กามคุเณ ภมสฺสุ จิตฺตํ
มา โลหคุฬํ คิลี ปมตฺโต
มา กนฺทิ ทุกฺขมิทนฺติ ฑยฺหมาโน.
นตฺถิ ณานํ อปฺญฺญสฺส ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต
ยมหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ส เว นิพฺพานสนฺติเก.
สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต.
ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ
ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อิธ ปญฺญสฺส ภิกฺขุโน
ตตฺายมาทิ ภวติ อิธ ปญฺญสฺส ภิกฺขุโน
อินฺทฺริยคุตฺติ สนฺตุฏฺฐี ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต.

ปฏิสนฺถารวุตฺตฺยสฺส อาจารกุสโล สิยา
ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ.
" ภิกษุใด นี้ปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพระ-
พุทธศาสนา, ภิกษุนั้น พึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่
เข้าไประงับสังขาร อันเป็นสุข. ภิกษุ เธอจงวิดเรือ
นี้, เรือที่เธอวิดแล้ว จักถึงเร็ว; เธอตัดราคะและ
โทสะได้แล้ว แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน. ภิกษุพึงตัด
ธรรม 5 อย่าง พึงละธรรม 5 อย่าง และพึงยังคุณ
ธรรม 5 ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น, ภิกษุผู้ล่วงกิเลสเครื่อง
ข้อง 5 อย่างได้แล้ว เราเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้.
ภิกษุ เธอจงเพ่งและอย่าประมาท, จิตของเธออย่า
หมุนไปในกามคุณ, เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนกิน
ก้อนแห่งโลหะ, เธออย่าเป็นผู้อันกรรมแผดเผาอยู่
คร่ำครวญว่า ' นี้ทุกข์.' ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้
ไม่มีปัญญา, ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน. ฌาน
และปัญญาย่อมมีในบุคคลใด, บุคคลนั้นแล ตั้งอยู่
แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน. ความยินดีมิใช่ของมีอยู่
แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปแล้วสู่เรือนนาง
ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ. ภิกษุ
พิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไปแห่ง
ขันธ์ทั้งหลายโดยอาการใด ๆ, เธอย่อมได้ปีติและ
ปราโมทย์โดยอาการนั้น ๆ, การได้ปีติและปราโมทย์

นั้น เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย, ธรรม
นี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ 1 ความสันโดษ 1
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ 1 เป็นเบื้องต้นใน
ธรรมอันไม่ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระ-
ศาสนานี้. เธอจงคบมิตรที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมด
จด มีเกียจคร้าน. ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิ-
สันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ; เพราะเหตุนั้น
เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตาวิหารี ความว่า บุคคลผู้ทำกรรม
ในพระกัมมัฏฐานอันประกอบด้วยเมตตาอยู่ก็ดี ผู้ยังฌานหมวด 3 และ
หมวด 4 ให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาแล้วดำรงอยู่ก็ดี ชื่อว่า ผู้มีปกติ
อยู่ด้วยเมตตาโดยแท้.
คำว่า ปสนฺโน ความว่า ก็ภิกษุใดเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว, อธิบายว่า
ย่อมปลูกฝังความเลื่อมใสลงในพระพุทธศาสนานั่นแล.
สองบทว่า ปทํ สนฺตํ นั่น เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน. จริงอยู่ ภิกษุ
ผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุ, อธิบายว่า ย่อมประสบโดยแท้ ซึ่งพระนิพพาน
อันเป็นส่วนแห่งความสงบ ชื่อว่าเป็นที่เข้าไประงับสังขาร เพราะความ
ที่สังขารทั้งปวงเป็นสภาพระงับแล้ว ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า ' สุข ' เพราะ
ความเป็นสุขอย่างยิ่ง.