เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโส คือ ในนามรูปทั้งปวงที่เป็น
ไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ 5 คือนามขันธ์ 4 มีเวทนาเป็นต้น และรูป
ขันธ์.
บทว่า มมายิตํ ความว่า ความยึดถือว่า ' เรา ' หรือว่า ' ของเรา
ไม่มีแก่ผู้ใด.
บาทพระคาถาว่า อสตา จ น โสจติ ความว่า เมื่อนามรูปนั้นถึง
ความสิ้นและความเสื่อม ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อนว่า " รูป
ของเราสิ้นไปแล้ว ฯ ล ฯ วิญญาณของเราสิ้นไปแล้ว คือเห็น (ตามความ
เป็นจริง) ว่า " นามรูป ซึ่งมีความสิ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดานี่แล
สิ้นไปแล้ว."
บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น ได้แก่
ผู้เว้นจากความยึดถือในนามรูปซึ่งมีอยู่ว่าเป็นของเราก็ดี ผู้ไม่เศร้าโศก
เพราะนามรูปนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ก็ดี พระศาสดาตรัสเรียกว่า ' ภิกษุ '
ในกาลจบเทศนา เมียและผัวทั้งสองตั้งอยู่ในพระอนาคามิผลแล้ว,
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ จบ.

7. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [258]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เมตฺตาวิหารี " เป็นต้น.

ประวัติพระโสณกุฏิกัณณะ


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านพระมหากัจจานะอาศัยกุรรฆร-
นคร ในอวันตีชนบท อยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ, อุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ
เลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ ใคร่จะบวชในสำนักของพระเถระ แม้
ถูกพระเถระพูดห้ามถึง 2 ครั้งว่า " โสณะ พรหมจรรย์มีภัตหนเดียว นอน
ผู้เดียว ตลอดชีพ เป็นสิ่งที่บุคคลทำได้ด้วยยากแล" ก็เป็นผู้เกิดอุตสาหะ
อย่างแรงกล้าในการบรรพชา ในวาระที่ 3 วิงวอนพระเถระ บรรพชา
แล้ว โดยล่วงไป 3 ปีจึงได้อุปสมบท เพราะทักษิณาปถชนบทมีภิกษุ
น้อย เป็นผู้ใคร่จะเฝ้าพระศาสดาเฉพาะพระพักตร์ จึงอำลาพระอุปัชฌายะ
ถือเอาข่าวที่พระอุปัชฌายะให้แล้วไปสู่พระเชตวันโดยลำดับ ถวายบังคม
พระศาสดา ได้รับการปฏิสันถารแล้ว ผู้อันพระศาสดาทรงอนุญาตเสนา-
สนะในพระคันธกุฎีเดียวกันทีเดียว ให้ราตรีส่วนมากล่วงไปอยู่ข้างนอก1
แล้วเข้าไปสู่พระคันธกุฎีในเวลากลางคืน ให้ส่วนแห่งกลางคืนนั้นล่วงไป
แล้วที่เสนาสนะอันถึงแล้วแก่ตน ในเวลาใกล้รุ่งอันพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ
แล้ว ได้สวดพระสูตรหมดด้วยกัน 16 สูตร โดยทำนองสรภัญญะที่จัด
เป็นอัฏฐกวรรค.2
1. อชฺโฌกาเส ในที่กลางแจ้ง. 2. อฏฺฐกวคฺคิกานีติ: อฏฺฐกวคฺคภูตานิ กามสุตฺตาทีนิ
โสฬสสุตฺตานิ พระสูตร 16 สูตร มีกามสูตรเป็นต้น ที่จัดเป็นอัฏฐกวรรค พระสูตรเหล่านี้มีอยู่
ใน ขุ. สุ. 25/485-523.