เมนู

แล้ว ขบฉันก้อนภัตนั้น, ธีรชรทั้งหลายย่อมสรร-
เสริญแม้ซึ่งภิกษุนั้นว่า เป็นมุนี."

พราหมณ์พอได้ฟังพระคาถานั้น ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส แล้วคิดว่า
" โอ ! น่าอัศจรรย์จริง, พระราชบุตรผู้ชื่อว่าเจ้าแห่งดวงประทีป มิได้
ตรัสว่า ' เราไม่มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นเดนของท่าน' ยังตรัสอย่าง
นั้น " แล้วยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง ทูลถามปัญหากะพระศาสดาว่า " ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกพวกสาวกของพระองค์ว่า ' ภิกษุ '
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่า เป็นภิกษุ."

คนผู้ไม่กำหนัดไม่ติดในนามรูปชื่อว่าภิกษุ


พระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า " ธรรมเทศนาเช่นไรหนอ ? จึงจะ
เป็นเครื่องสบายแก่พราหมณ์นี้" ทรงดำริว่า " ชนทั้งสองนี้ ในกาล
ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัลสป ได้ฟังคำของภิกษุทั้งหลายผู้กล่าว
อยู่ว่า ' นามรูป,' การที่เราไม่ละนามรูปแหละ แล้วแสดงธรรมแก่ชน
ทั้งสองนั้น ย่อมควร" แล้วจึงตรัสว่า " พราหมณ์ บุคคลผู้ไม่กำหนัด
ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ชื่อว่า เป็นภิกษุ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
6. สพฺพโส นามรูปสฺมึ ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
อสตา จ น โสจติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.
" ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของ ๆ เรา ไม่มี
แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง, อนึ่ง ผู้ใดไม่เศร้าโศก
เพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่, ผู้นั้นแล เราเรียกว่า
ภิกษุ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโส คือ ในนามรูปทั้งปวงที่เป็น
ไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ 5 คือนามขันธ์ 4 มีเวทนาเป็นต้น และรูป
ขันธ์.
บทว่า มมายิตํ ความว่า ความยึดถือว่า ' เรา ' หรือว่า ' ของเรา
ไม่มีแก่ผู้ใด.
บาทพระคาถาว่า อสตา จ น โสจติ ความว่า เมื่อนามรูปนั้นถึง
ความสิ้นและความเสื่อม ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อนว่า " รูป
ของเราสิ้นไปแล้ว ฯ ล ฯ วิญญาณของเราสิ้นไปแล้ว คือเห็น (ตามความ
เป็นจริง) ว่า " นามรูป ซึ่งมีความสิ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดานี่แล
สิ้นไปแล้ว."
บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น ได้แก่
ผู้เว้นจากความยึดถือในนามรูปซึ่งมีอยู่ว่าเป็นของเราก็ดี ผู้ไม่เศร้าโศก
เพราะนามรูปนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ก็ดี พระศาสดาตรัสเรียกว่า ' ภิกษุ '
ในกาลจบเทศนา เมียและผัวทั้งสองตั้งอยู่ในพระอนาคามิผลแล้ว,
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ จบ.