เมนู

แก่ภิกษุผู้ปรารถนาลาภของผู้อื่น, แต่คุณชาติทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
5. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.
อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ สลาภํ นาติมญฺญติ
ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ สุทฺธาชีวึ อตนฺทิตํ.
" ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน, ไม่ควรเที่ยว
ปรารถนาลาภของผู้อื่น, ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของ
ผู้อื่น ย่อมไม่ประสบสมาธิ; ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภ
น้อย ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน, เทพยดาทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญภิกษุนั้นแล (ว่า) ผู้มีอาชีพหมดจด ไม่
เกียจคร้าน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลาภํ ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นแก่ตน.
จริงอยู่ ภิกษุผู้เว้นการเที่ยวไปตามตามลำดับตรอก เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการ
แสวงหาอันไม่สมควร ชื่อว่าดูหมิ่น คือดูแคลน ได้แก่ รังเกียจลาภของ
ตน; เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ด้วยการไม่ทำอย่าง
นั้น.
สองบทว่า อญฺเญสํ ปิหยํ ความว่า ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภ
ของคนเหล่าอื่น.

บาทพระคาถาว่า สมาธึ นาธิคจฺฉติ ความว่า ก็ภิกษุเมื่อปรารถนา
ลาภของชนเหล่าอื่นอยู่ ถึงความขวนขวายในการทำบริขารมีจีวรเป็นต้น
แก่ชนเหล่านั้น ย่อมไม่บรรลุอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บาทพระคาถาว่า สลาภํ นาติมญฺญติ ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้มี
ลาภน้อย เมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกโดยลำดับแห่งตระกูลสูงและต่ำ
ชื่อว่า ไม่ดูแคลนลาภของตน.
บทว่า ตํ เว เป็นต้น ความว่า เทพดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ คือ
ชมเชย ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่ามีอาชีวะหมดจด เพราะความ
เป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระ ชื่อว่าผู้ไม่เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้ไม่ย่อท้อ
ด้วยอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

6. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ [257]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อ
ปัญจัคคทายก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพโส นามรูปสฺมึ"
เป็นต้น.

เหตุที่พราหมณ์ได้ชื่อว่าปัญจัคคทายก


ดังได้สดับมา พราหมณ์นั้นย่อมถวายทานชื่อเขตตัคคะ1 ในเวลา
แห่งนาข้าวกล้าอันตนเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วนั่นแล, ในเวลาขนข้าวลาน ก็
ถวายชื่อขลัคคคะ,2 ในเวลานวด ก็ถวายทานชื่อขลภัณฑัคคะ,3 ในเวลาเอา
ข้าวสารลงในหม้อ ก็ถวายทานชื่ออุกขลิกัคคะ,4 ในเวลาที่ตนคดข้าวใส่
ภาชนะ ก็ถวายทานชื่อปาฏิคคะ,5 พราหมณ์ย่อมถวายทานอันเลิศทั้ง 5
อย่างนี้.
พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ยังไม่ให้แก่ปฏิคาหกผู้ที่มาถึงแล้ว ย่อมไม่
บริโภค. เพราะเหตุนั้น เขาจึงได้มีชื่อว่า "ปัญจัคคทายก" นั่นแล.

พระศาสดาเสด็จไปโปรดพราหมณ์และภรรยา


พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งผลทั้ง 3 ของพราหมณ์นั้น และ
นางพราหมณีของเขา จึงได้เสด็จไปในเวลาบริโภคของพราหมณ์ แล้ว
ประทับยืนอยู่ที่ประตู. แม้พราหมณ์นั้นบ่ายหน้าไปภายในเรือน นั่ง
บริโภคอยู่ที่หน้าประตู, เขาไม่เห็นพระศาสดาผู้ประทับยืนอยู่ที่ประตู.
1. ทานอันเลิศในนา 2. ทานอันเลิศในลาน. 3. ทานอันเลิศในคราวนวด. 4. ทาน
อันเลิศในคราวเทข้าวสารลงหม้อข้าว. 5. ทานอันเลิศในคราวคดข้าวสุกใส่ภาชนะ.