เมนู

แก่ภิกษุผู้ปรารถนาลาภของผู้อื่น, แต่คุณชาติทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
5. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.
อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ สลาภํ นาติมญฺญติ
ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ สุทฺธาชีวึ อตนฺทิตํ.
" ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน, ไม่ควรเที่ยว
ปรารถนาลาภของผู้อื่น, ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของ
ผู้อื่น ย่อมไม่ประสบสมาธิ; ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภ
น้อย ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน, เทพยดาทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญภิกษุนั้นแล (ว่า) ผู้มีอาชีพหมดจด ไม่
เกียจคร้าน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลาภํ ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นแก่ตน.
จริงอยู่ ภิกษุผู้เว้นการเที่ยวไปตามตามลำดับตรอก เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการ
แสวงหาอันไม่สมควร ชื่อว่าดูหมิ่น คือดูแคลน ได้แก่ รังเกียจลาภของ
ตน; เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ด้วยการไม่ทำอย่าง
นั้น.
สองบทว่า อญฺเญสํ ปิหยํ ความว่า ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภ
ของคนเหล่าอื่น.