เมนู

พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า
เธอได้ทำอย่างนั้น จริงหรือ ?."
ภิกษุ. จริง พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์อาศัยภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ใน
ที่นั้น 2-3 วัน; ก็แต่ว่า ข้าพระองค์มิได้ชอบใจลัทธิของพระเทวทัต.

ภิกษุควรยินดีในลาภของตนเท่านั้น


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเธอว่า " เธอไม่ชอบใจลัทธิ
(ของพระเทวทัต ) ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เธอเที่ยวไปประหนึ่งว่าชอบใจ
ลัทธิของชนผู้ที่เธอพบเห็นแล้วทีเดียว; เธอทำอย่างนั้นในบัดนี้เท่านั้นก็หา
มิได้, แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นผู้เห็นปานนั้นเหมือนกัน," อันภิกษุ
ทั้งหลายทูลวิงวอนว่า " พระเจ้าข้า ในบัดนี้ พวกข้าพระองค์เห็นภิกษุนี้
ด้วยตนเองก่อน, แต่ในกาลก่อน ภิกษุนี่พอใจลัทธิของใครเที่ยวไป ?
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกแก่พวกข้าพระองค์เถิด," จึงทรงนำอดีตนิทาน
มา ทรงยังมหิลามุขชาดก1 นี้ให้พิสดารว่า :-
" ช้างชื่อมหิลามุข ฟังคำของพวกโจรก่อนแล้ว
เที่ยวฟาดบุคคลผู้ไปตามอยู่, แต่พอฟังคำของสมณะ
ผู้สำรวมดีแล้ว ก็เป็นช้างประเสริฐ ตั้งอยู่แล้วในคุณ
ทั้งปวง."

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุเป็นผู้ยินดีด้วยลาภของตน
เท่านั้น, การปรารถนาลาภของผู้อื่น ไม่สมควร, เพราะบรรดาฌาน
วิปัสสนา มรรค และผลทั้งหลาย แม้ธรรมสักอย่างหนึ่งย่อมไม่เกิดขึ้น
1. ขุ. ชา. 27/9. อรรถกถา. 1/ 279.

แก่ภิกษุผู้ปรารถนาลาภของผู้อื่น, แต่คุณชาติทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
5. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.
อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ สลาภํ นาติมญฺญติ
ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ สุทฺธาชีวึ อตนฺทิตํ.
" ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน, ไม่ควรเที่ยว
ปรารถนาลาภของผู้อื่น, ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของ
ผู้อื่น ย่อมไม่ประสบสมาธิ; ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภ
น้อย ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน, เทพยดาทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญภิกษุนั้นแล (ว่า) ผู้มีอาชีพหมดจด ไม่
เกียจคร้าน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลาภํ ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นแก่ตน.
จริงอยู่ ภิกษุผู้เว้นการเที่ยวไปตามตามลำดับตรอก เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการ
แสวงหาอันไม่สมควร ชื่อว่าดูหมิ่น คือดูแคลน ได้แก่ รังเกียจลาภของ
ตน; เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ด้วยการไม่ทำอย่าง
นั้น.
สองบทว่า อญฺเญสํ ปิหยํ ความว่า ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภ
ของคนเหล่าอื่น.