เมนู

" นระใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป 1,
กล่าวมุสาวาท 1, ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นไม่ให้ใน
โลก 1, ถึงภริยาของผู้อื่น 1, อนึ่ง นระใดย่อม
ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้
(ชื่อว่า) ย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว.
บุรุษผู้เจริญ ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มีบาป-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว' ความโลภ
และสภาพมิใช่ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความ
ทุกข์ ตลอดกาลนานเลย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โย ปาณมติมาเปติ ความว่า
บรรดาประโยคทั้งหก มีสาหัตถิกประโยค1เป็นต้น นระใดย่อมเข้าไปตัด
อินทรีย์คือชีวิตของผู้อื่น แม้ด้วยประโยคอันหนึ่ง.
บทว่า มุสาวาทํ ความว่า และย่อมกล่าวมุสาวาท อันหักเสียซึ่ง
ประโยชน์ของชนเหล่าอื่น.
บาทพระคาถาว่า โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ความว่า ย่อมถือเอาทรัพย์
อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้ว ด้วยบรรดาอวหาร (การนำเอาไป) ทั้งหลาย
มีไถยาวหาร (การนำเอาไปโดยขโมย) เป็นต้น อวหารแม้อันหนึ่งใน
สัตวโลกนี้.
บาทพระคาถาว่า ปรทารญฺจ คจฺฉติ ความว่า นระเมื่อผิดใน
1. ประโยคแห่งการฆ่ามี 6 คือ สาหัตถิกประโยค 1 นิคสัคคิยประโจค 1 อาณัตติประโยค 1
ถาวรประโยค 1 วิชชามยประโยค 1 อิทธิมยประโยค 1 สาหัตถิกประโยคนั้น ได้แก่การทำ
ด้วยมือตนเอง. สมันตปาสาทิกา 1/526.

ภัณฑะทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นรักษาและคุ้มครองแล้ว ชื่อว่าย่อมประพฤติ
นอกทาง.
บทว่า สุราเมรยปานํ ได้แก่ การดื่มซึ่งสุราและเมรัยอย่างใดอย่าง
หนึ่งนั่นเทียว. บทว่า อนุยุญฺชติ คือ ย่อมเสพ ได้แก่ ย่อมกระทำ
ให้มาก.
สองบทว่า มูลํ ขนติ ความว่า ปรโลกจงยกไว้. ก็ในโลกนี้นั่นแล
นระนี้จำนองหรือขายขาด แม้ซึ่งทรัพย์อันเป็นต้นทุนมีนาและสวนเป็นต้น
อันเป็นเครื่องที่จะพึงดำรง (ตน) อยู่ได้ ดื่มสุราอยู่ ชื่อว่าย่อมขุดซึ่ง
รากเหง้าของตน คือเป็นคนหาที่พึ่งมิได้. เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป.
พระศาสดา ย่อมตรัสเรียกบุคคลผู้ทำกรรมคือทุศีล 5 ด้วยคำว่า
เอวํ โภ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก. บทว่า อสญฺญตา
ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากการสำรวม มีการสำรวมทางกายเป็นต้น. พระบาลีว่า
อเจตสา ดังนี้บ้าง. ความว่า ผู้ไม่มีจิต.
สองบทว่า โลโภ อธมฺโม จ ได้แก่ โลภะและโทสะ. แท้จริง
กิเลสชาตแม้ทั้งสองนี้ เป็นอกุศลโดยแท้.
บาทพระคาถาว่า จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ ความว่า ธรรมเหล่านี้
จงอย่าฆ่า อยู่ย่ำยี (ซึ่งท่าน) เพื่อประโยชน์แก่ทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ใน
นรกเป็นต้น ตลอดกาลนาน.
ในกาลจบเทศนา อุบาสก 5 คนนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์ แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอุบาสก 5 คน จบ.

8. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [183]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม
ชื่อติสสะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ททาติ เว ยถาสทฺธํ" เป็นต้น.

พระติสสะนินทาชนอื่นแต่ชมเชยญาติของตน


ได้ยินว่า พระติสสะนั้นเที่ยวติเตียนทานของพระอริยสาวก แม้ 5
โกฏิ คือ อนาถบิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขาอุบาสิกา (เป็นต้น ). แม้ถึง
อสทิสทาน1ก็ติเตียนเหมือนกัน, ได้ของเย็นในโรงทานของอริยสาวก
เหล่านั้น ย่อมติเตียนว่า " เย็น " ได้ของร้อน ย่อมติเตียนว่า " ร้อน "
แม้เขาให้น้อย ย่อมติเตียนว่า " เพราะเหตุไร ชนเหล่านี้จึงให้ของเพียง
เล็กน้อย ?" แม้เขาให้มาก ย่อมติเตียนว่า " ในเรือนของชนเหล่านี้ เห็น
จะไม่มีที่เก็บ, ธรรมดาบุคคลควรให้วัตถุพอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุ
ทั้งหลายมิใช่หรือ ? ยาคูและภัตเท่านี้ย่อมวิบัติไปไม่มีประโยชน์เลย,"
แต่กล่าวปรารภพวกญาติของตนเป็นต้นว่า " น่าชมเชยเรือนของพวกญาติ
ของเรา เป็นโรงเลี้ยงของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วจากทิศทั้งสี่" ดังนี้
แล้ว ย่อมยังคำสรรเสริญให้เป็นไป.

พวกภิกษุสอบสวนฐานะของพระติสสะ


ก็พระติสสะนั้น เป็นบุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับ
พวกช่างไม้ผู้เที่ยวไปยังชนบท ถึงพระนครสาวัตถี บวชแล้ว.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอผู้ (เที่ยว) ติเตียนทานของมนุษย์
1. หาทานเสมอเหมือนมิได้.