เมนู

" ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน, พวกเราจักทำ อย่างไรกันเล่า ?"

พระศาสนารับสั่งให้หาตัว


พระศาสดารับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า " ข่าวว่า เธอทำ
อย่างนั้น จริงหรือ ?"
พระธรรมารามะ. จริง พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เพราะเหตุอะไร ?.
พระธรรมารามะ. ข่าวว่า พระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป
เดือน, ส่วนข้าพระองค์ เป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ, เมื่อพระองค์ยังทรง
พระชนม์อยู่นี้แหละ, ข้าพระองค์จักพยายามบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุ
นั้น ข้าพระองค์จึงนึก คิด ระลึก ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอยู่.

พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วย


พระศาสดาประทานสาธุการแก่เธอว่า " ดีละ ๆ" แล้วตรัสว่า
" ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีความรักใคร่ในเราแม้รูปอื่น พึงเป็นเช่นภิกษุ
ธรรมารามะนี้แหละ, แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบ
และของหอมเป็นต้น หาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่, ผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่าบูชาเรา," ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. ธมฺมาราโม ธมฺมรใต ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ
ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ สทฺธมฺมา น ปริหายติ.
" ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม
ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อม
จากพระสัทธรรม."

แก้อรรถ


พึงทราบวิเคราะห์ในบทเหล่านั้นว่า :- ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา
เป็นที่มายินดีของภิกษุนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า
ผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี, ผู้ยินดีแล้วในธรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าผู้ยินดีแล้วในธรรม, ชื่อว่าผู้ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม เพราะนึกถึง
ธรรมนั้นนั่นแหละบ่อย ๆ, อธิบายว่า ผู้นึกถึงธรรมนั้นอยู่.
บทว่า อนุสฺสรํ ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละอยู่.
บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก
โพธิปักขิยธรรม 37 ประเภท และจากโลกุตรธรรม 9.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต, เทศนาได้มี
ประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระธรรมารามเถระ จบ.