เมนู

หงส์สองตัวพาเต่าผู้สหายไปถ้ำของตน


ในอดีตกาล เต่าอาศัยอยู่ในสระแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ.
ลูกหงส์สองตัวเที่ยวไปเพื่อหากินอยู่ ทำความคุ้นเคยกับเต่านั้น เป็นผู้
สนิทสนมอย่างแน่นแฟ้น ในวันหนึ่ง จึงถามเต่าว่า " เพื่อนเอ๋ย ที่อยู่
ของพวกเราในถ้ำทอง บนพื้นแห่งภูเขาชื่อจิตตกูฏ ในหิมวันตประเทศ
เป็นประเทศที่น่ารื่นรมย์, ท่านจักไปกับพวกเราไหม ?"
เต่า. ฉันจักไปได้อย่างไร ?
หงส์. พวกเราจักนำท่านไป, ถ้าว่าท่านสามารถเพื่อจะรักษาปาก
ไว้ได้.
เต่า. เพื่อนเอ๋ย ฉันจักอาจ, ขอท่านทั้งหลายจงพาฉัน ไปเถิด.
หงส์ทั้งสองพูดว่า " ดีละ" แล้วให้เต่าคาบท่อนไม้ท่อนหนึ่ง ส่วน
ตนคาบปลายทั้งสองแห่งท่อนไม้นั้น แล้วบินไปสู่อากาศ.

เต่าหลุดจากท่อนไม้ที่คาบตกลงตาย


พวกเด็กชาวบ้าน เห็นเต่าถูกหงส์นำไปอยู่อย่างนั้น จึงพูดกันว่า
" หงส์สองตัวนำเต่าไปอยู่ด้วยท่อนไม้." เต่าใคร่จะพูดว่า " ผิว่าสหาย
ทั้งสองนำเราไปอยู่, ประโยชน์อะไรของพวกเอง ในเพราะข้อนี้ อ้าย
พวกเด็กเปรตชั่วร้าย" จึงปล่อยท่อนไม้จากที่ตนคาบไว้ในเวลาถึงส่วน
เบื้องบนพระราชนิเวศน์ ในพระนครพาราณสี เพราะความที่หงส์ทั้งสอง
เป็นสัตว์มีกำลังเร็ว จึงตกลงไปในพระลานหลวงแตกเป็นสองภาค.

การพูดมากไม่ถูกเวลาให้โทษ


พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงยังพหุภาณิชาดก1
ในทุกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-
1. ขุ. ชา. 27/279. กัจฉปชาดก. อรรถกถา. 3/235.

" เต่าเปล่งวาจา ได้ฆ่าตนแล้วหนอ, เมื่อท่อน
ไม้ที่ตนคาบไว้ดีแล้ว, ก็ฆ่า (ตน) ด้วยวาจาอันเป็น
ของ ๆ ตน. ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้าประเสริฐใน
หมู่คน บุคคลเห็นเหตุแม้นั่นแล้ว ควรเปล่งวาจาที่ดี
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ล่วงเลยเวลา. พระองค์ย่อม
ทอดพระเนตรเห็นเต่าตัวถึงความฉิบหายเพราะพูดมาก
(มิใช่หรือ)"

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมปากประพฤติ
สม่ำเสมอ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
3.โย มุขสญฺญโต ภิกฺขุ มนฺตภาณี อนุทฺธโต
อตฺถํ ธมฺมญฺจ ทีเปติ มธุรํ ตสฺส ภาสิตํ.
" ภิกษุใด สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงอรรถและธรรม, ภาษิตของภิกษุ
นั้น ย่อมไพเราะ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุขสญฺญโต ความว่า ชื่อว่าผู้สำรวม
แล้วด้วยปาก เพราะไม่พูดคำเป็นต้นว่า " เจ้าเป็นคนชาติชั่ว เจ้าเป็นคน
ทุศีล" แม้กะคนทั้งหลายมีทาสและคนจัณฑาลเป็นต้น.
บทว่า มนฺตภาณ ความว่า ปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ว่า มันตา, ผู้มีปกติพูดด้วยปัญญานั้น.
บทว่า อนุทฺธโต ได้แก่ ผู้มีจิตสงบแล้ว.