เมนู

ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว, เมื่อฝนไม่ตก, ด้วยทรง
สำคัญว่า "พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม; เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกใน
แคว้นของพระองค์" พระเจ้ากาลิงคะ จึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์
ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า " พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษา
ลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา." เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขอ
อยู่, ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด นับแต่พระราชาเป็นต้น กระทำอาการสักว่า
ความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตน ๆ แล้ว ห้ามว่า " ศีลของ
พวกเราไม่บริสุทธิ์ " ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้า
ว่า " ความทำลายแห่งศีล หาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่" จึงได้บอกศีล
ทั้งหลายของตน ๆ แล้ว.

พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก


พระเจ้ากาลิงคะ ได้ทอดพระเนตรกุรุธรรมที่พวกพราหมณ์และ
อำมาตย์จารึกลงในแผ่นทองคำนำมา ทรงสมาทานบำเพ็ญให้บริบูรณ์ด้วย
ดี. ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์, แว่นแคว้นได้เกษม มีภิกษาหาได้
โดยง่ายแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า:-
" หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา,
คนรักษาประตู ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ, อำมาตย์ผู้
ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ, และอำมาตย์ผู้เป็น
ขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ, เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็น
สารีบุตร, นายสารถี ได้เป็นอนุรุทธะ, พราหมณ์

ได้เป็นกัสสปเถระ, อุปราช ได้เป็นนันทบัณฑิต,
พระมเหสี ได้เป็นมารดาของราหุล, พระชนนี ได้
เป็นพระนางมายาเทวี, พระเจ้ากุรุ ได้เป็นพระโพธิ-
สัตว์; พวกเธอจงจำชาดกไว้ด้วยอาการอย่างนี้"

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ บัณฑิตในครั้งก่อน เมื่อความรำคาญ
แม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว, ทำศีลเภทของตนให้เป็นเครื่องรังเกียจแล้ว
อย่างนี้, ส่วนเธอ บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรา ยัง
ทำปาณาติบาตอยู่ (นับว่า) ได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก; ธรรมดาภิกษุ ควร
เป็นผู้สำรวมด้วยมือ เท้า และวาจา" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. หตฺถสญฺญโต ปาทสญฺญโต
วาจาย สญฺญโต สญฺตตฺตโม
อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต
เอโก สนฺตุสิโต ตมาหุ ภิกขุ.
" บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวม
แล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว มีวาจาสำรวมแล้ว มีตน
สำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิต
ตั้งมั่นแล้ว เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า " เป็น
ภิกษุ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถสญฺญโต ความว่า ชื่อว่าผู้มีมือ
อันสำรวมแล้ว เพราะความไม่มีการคะนองมือเป็นต้น* หรือการประหาร
สัตว์เหล่าอื่นเป็นต้นด้วยมือ.
1. การยังมือให้เล่นเป็นต้น.