เมนู

ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา


ภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ เห็นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ
เธอบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต (นับว่า) ทำกรรมไม่สมควร"
แล้วพาภิกษุทั้งสองรูปนั้นไปเฝ้าพระตถาคต.

พระศาสดาประทานโอวาท


พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ ได้ยินว่า เธอทำปาณาติบาตจริง
หรือ ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " ภิกษุ เธอ
บวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ได้ทำแล้ว
อย่างนี้ เพราะเหตุอะไร ? บัณฑิตในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายิ่งไม่
ทรงอุบัติ อยู่ในท่ามกลางเรือน ทำความรังเกียจในฐานะแม้มีประมาณ
น้อย, ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนาเห็นปานนี้ หาได้ทำแม้มาตรว่า
ความรังเกียจไม่" อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทาน
มา (ตรัส) ว่า :-

ศีล 5 ชื่อกุรุธรรม


" ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
ชื่ออินทปัตตะ ในแคว้นกุรุ, พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วโดยลำดับ
ทรงเรียนศิลปะทั้งหลายในเมืองตักกสิลาแล้ว อันพระบิดาทรงให้ดำรงใน
ตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ได้รับ
ราชสมบัติแล้ว ไม่ทรงละเมิดราชธรรมทั้ง 10 ประการ1 ทรงประพฤติ
1. ราชธรรม 10 คือ:- ทานํ การให้ 1 สีลํ ศีล 1 ปริจฺจาคํ การบริจาค 1 อาชฺชวํ ความ
ซื่อตรง 1 มทฺทวํ ความอ่อนโยน 1 ตปํ ความเพียร 1 อกฺโกธํ ความไม่โกรธ 1 อวิหึสา
ความไม่เบียดเบียน 1 ขนฺติ ความอดทน 1 อวิโรธนํ ความไม่พิโรธ 1.

อยู่ในกุรุธรรมแล้ว. ศีล 5 ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล 5
นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช
พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก1 นายสารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์
ผู้เป็นขุนคลัง2 คนรักษาประตู นางวรรณทาสี3 ผู้เป็นหญิงงามเมือง
ของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล 5 เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ
ฉะนี้.

แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง


เมื่อชนทั้ง 11 คนนี้ รักษากุรุธรรมอยู่อย่างนั้น, เมื่อพระราชา
ทรงพระนามว่ากาลิงคะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครทันตบุรี ในแคว้น
กาลิงคะ ฝนมิได้ตกในแคว้นของพระองค์แล้ว . ก็ช้างมงคล ชื่อว่าอัญ-
ชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก. ชาวแคว้นพากันกราบทูล
ด้วยสำคัญว่า " เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก."
พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา.
พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว. เพื่อจะทรง
แสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น พระศาสดาจึงตรัสชาดก4ในติก-
นิบาตนี้เป็นต้นว่า :-
" ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน ข้าพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว
ขอพระราชทานแลกทองด้วยช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญ-
ชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ."

1. พนักงานรางวัด. 2. โทณมาปโก ผู้ตวงวัตถุด้วยทะนาน. โทณะหนึ่งเท่ากับ 4 อาฬหก.
3. หญิงคนใช้รูปงาม 4. ขุ. ชา. 27/ข้อ 427. กุรุธรรมชาดก. อรรถกถา. 4/ 119.