เมนู

2. เรืองภิกษุฆ่าหงส์ [253]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หตฺถสญฺญโต " เป็นต้น.

สองสหายออกบวช


ดังได้สดับมา สหายสองคนชาวกรุงสาวัตถี ได้บรรพชาอุปสมบท
ใน (สำนัก) ภิกษุทั้งหลายแล้ว โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน.
ในวันหนึ่ง ภิกษุสองรูปนั้นไปสู่แม่น้ำอจิรวดี สรงน้ำแล้วผิงแดด
อยู่ ได้ยืนพูดกันถึงสาราณียกถา. ในขณะนั้น หงส์สองตัวบินมาโดย
อากาศ.

ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด


ขณะนั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งหยิบก้อนกรวดแล้วพูดว่า " ผมจักดีด
ตาของหงส์ตัวหนึ่ง," ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า " ท่านจักไม่สามารถ."
ภิกษุรูปที่หนึ่ง. ตาข้างนี้จงยกไว้, ผมจักดีดตาข้างโน้น.
ภิกษุรูปที่สอง. แม้ตาข้างนี้ ท่านก็จักไม่สามารถ (ดีด) เหมือนกัน.
ภิกษุรูปที่หนึ่ง. พูดว่า " ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู" แล้วหยิบ
กรวดก้อนที่สอง ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวด
จึงเหลียวดู. ขณะนั้น เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนหนึ่ง แล้วดีดหงส์
ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้า
ของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล.

ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา


ภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ เห็นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ
เธอบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต (นับว่า) ทำกรรมไม่สมควร"
แล้วพาภิกษุทั้งสองรูปนั้นไปเฝ้าพระตถาคต.

พระศาสดาประทานโอวาท


พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ ได้ยินว่า เธอทำปาณาติบาตจริง
หรือ ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " ภิกษุ เธอ
บวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ได้ทำแล้ว
อย่างนี้ เพราะเหตุอะไร ? บัณฑิตในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายิ่งไม่
ทรงอุบัติ อยู่ในท่ามกลางเรือน ทำความรังเกียจในฐานะแม้มีประมาณ
น้อย, ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนาเห็นปานนี้ หาได้ทำแม้มาตรว่า
ความรังเกียจไม่" อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทาน
มา (ตรัส) ว่า :-

ศีล 5 ชื่อกุรุธรรม


" ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
ชื่ออินทปัตตะ ในแคว้นกุรุ, พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วโดยลำดับ
ทรงเรียนศิลปะทั้งหลายในเมืองตักกสิลาแล้ว อันพระบิดาทรงให้ดำรงใน
ตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ได้รับ
ราชสมบัติแล้ว ไม่ทรงละเมิดราชธรรมทั้ง 10 ประการ1 ทรงประพฤติ
1. ราชธรรม 10 คือ:- ทานํ การให้ 1 สีลํ ศีล 1 ปริจฺจาคํ การบริจาค 1 อาชฺชวํ ความ
ซื่อตรง 1 มทฺทวํ ความอ่อนโยน 1 ตปํ ความเพียร 1 อกฺโกธํ ความไม่โกรธ 1 อวิหึสา
ความไม่เบียดเบียน 1 ขนฺติ ความอดทน 1 อวิโรธนํ ความไม่พิโรธ 1.