เมนู

แก้อรรถ


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุนา เป็นต้น ในพระคาถานั้น ดัง-
ต่อไปนี้ :-
ก็ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองในจักษุทวารของภิกษุ, ในกาลนั้น
เมื่อภิกษุไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่ยังความหลงให้เกิดขึ้นในเพราะความเพ่งเล็งอันไม่สม่ำเสมอ,
ความสำรวม คือความกั้น ได้แก่ความปิด หมายถึงความคุ้มครอง ชื่อว่า
เป็นกิริยาอันภิกษุทำแล้วในทวารนั้น; ความสำรวมทางจักษุนั้นเห็นปาน
นั้น ของภิกษุนั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. นัยแม้ในทวารอื่นมี
โสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกับนัยนี้.
ก็ความสำรวมหรือความไม่สำรวม ย่อมไม่เกิดในทวารทั้งหลายมี
จักษุทวารเป็นต้นเลย, แต่ความสำรวมหรือความไม่สำรวมนี้ ย่อมได้ใน
วิถีแห่งชวนจิตข้างหน้า; จริงอยู่ ในคราวนั้น ความไม่สำรวมเมื่อเกิด
ขึ้นเป็นอกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความไม่เชื่อ ความไม่อดทน ความ
เกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้ " ย่อมได้ในอกุศลวิถี. ความ
สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความเชื่อ ความอดทน
ความเพียร ความระลึกได้ ความรู้" ย่อมได้ในกุศลวิถี.
ก็ปสาทกายก็ดี โจปนกายก็ดี ย่อมได้ในสองบทนี้ว่า " กาเยน
สํวโร "
ก็คำว่าปสาทกายและโจปนกาย แม้ทั้งสองนั่น คือกายทวาร
นั่นเอง. ในกายทวารทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำรวมและ
ความไม่สำรวมไว้ในปสาททวารเทียว. ตรัสปาณาติบาต อทินนาทาน และ

มิจฉาจารซึ่งมีปสาททวารนั้นเป็นที่ตั้งไว้แม้ในโจปนทวาร. ทวารนั้น ชื่อ
ว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะอกุศลธรรมเหล่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ใน
อกุศลวิถี พร้อมด้วยปสาททวารและโจปนทวารเหล่านั้น, ทวารนั้น ชื่อ
ว่าเป็นอันภิกษุสำรวมแล้ว. เพราะวิรัติทั้งหลาย มีเจตราเป็นเครื่องเว้น
จากปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในกุศลวิถี.
โจปนวาจา ตรัสไว้แม้ในสองบทนี้ว่า " สาธุ วาจาย " ทวารนั้น
ชื่อว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น ซึ่ง
เกิดขึ้นอยู่ พร้อมด้วยโจปนวาจานั้น, ชื่อว่า อันภิกษุสำรวมแล้ว เพราะ
วิรัติทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น.
มโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น กับด้วยใจอื่นจากใจที่แล่นไป
ย่อมไม่มีแม้ในสองบทนี้ว่า "มนสา สํวโร." แต่ทวารนั้น ชื่อว่าอัน
ภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้น
อยู่ในขณะแห่งชวนจิตในมโนทวาร, ชื่อว่าอันภิกษุสำรวมแล้ว เพราะ
มโนสุจริตทั้งหลายมีอนภิชฌาเป็นต้น (ซึ่งเกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิตใน
มโนทวาร).
สองบทว่า สาธุ สพฺพตฺถ ความว่า ความสำรวมแม้ในทวาร
ทั้งปวงมีจักษุทวารเป็นต้นเหล่านั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารที่ภิกษุสำรวม 8 อย่าง และทวารที่ภิกษุ
ไม่สำรวม 8 อย่าง ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้. ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวาร
ที่ไม่สำรวม 8 อย่างนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลทั้งสิ้น, ส่วน
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวารที่สำรวม ย่อมพ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลแม้ทั้งสิ้น;

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุ 5 รูปตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้มี
ประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 5 รูป จบ.

2. เรืองภิกษุฆ่าหงส์ [253]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หตฺถสญฺญโต " เป็นต้น.

สองสหายออกบวช


ดังได้สดับมา สหายสองคนชาวกรุงสาวัตถี ได้บรรพชาอุปสมบท
ใน (สำนัก) ภิกษุทั้งหลายแล้ว โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน.
ในวันหนึ่ง ภิกษุสองรูปนั้นไปสู่แม่น้ำอจิรวดี สรงน้ำแล้วผิงแดด
อยู่ ได้ยืนพูดกันถึงสาราณียกถา. ในขณะนั้น หงส์สองตัวบินมาโดย
อากาศ.

ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด


ขณะนั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งหยิบก้อนกรวดแล้วพูดว่า " ผมจักดีด
ตาของหงส์ตัวหนึ่ง," ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า " ท่านจักไม่สามารถ."
ภิกษุรูปที่หนึ่ง. ตาข้างนี้จงยกไว้, ผมจักดีดตาข้างโน้น.
ภิกษุรูปที่สอง. แม้ตาข้างนี้ ท่านก็จักไม่สามารถ (ดีด) เหมือนกัน.
ภิกษุรูปที่หนึ่ง. พูดว่า " ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู" แล้วหยิบ
กรวดก้อนที่สอง ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวด
จึงเหลียวดู. ขณะนั้น เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนหนึ่ง แล้วดีดหงส์
ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้า
ของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล.