เมนู

แก้อรรถ


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุนา เป็นต้น ในพระคาถานั้น ดัง-
ต่อไปนี้ :-
ก็ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองในจักษุทวารของภิกษุ, ในกาลนั้น
เมื่อภิกษุไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่ยังความหลงให้เกิดขึ้นในเพราะความเพ่งเล็งอันไม่สม่ำเสมอ,
ความสำรวม คือความกั้น ได้แก่ความปิด หมายถึงความคุ้มครอง ชื่อว่า
เป็นกิริยาอันภิกษุทำแล้วในทวารนั้น; ความสำรวมทางจักษุนั้นเห็นปาน
นั้น ของภิกษุนั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. นัยแม้ในทวารอื่นมี
โสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกับนัยนี้.
ก็ความสำรวมหรือความไม่สำรวม ย่อมไม่เกิดในทวารทั้งหลายมี
จักษุทวารเป็นต้นเลย, แต่ความสำรวมหรือความไม่สำรวมนี้ ย่อมได้ใน
วิถีแห่งชวนจิตข้างหน้า; จริงอยู่ ในคราวนั้น ความไม่สำรวมเมื่อเกิด
ขึ้นเป็นอกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความไม่เชื่อ ความไม่อดทน ความ
เกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้ " ย่อมได้ในอกุศลวิถี. ความ
สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความเชื่อ ความอดทน
ความเพียร ความระลึกได้ ความรู้" ย่อมได้ในกุศลวิถี.
ก็ปสาทกายก็ดี โจปนกายก็ดี ย่อมได้ในสองบทนี้ว่า " กาเยน
สํวโร "
ก็คำว่าปสาทกายและโจปนกาย แม้ทั้งสองนั่น คือกายทวาร
นั่นเอง. ในกายทวารทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำรวมและ
ความไม่สำรวมไว้ในปสาททวารเทียว. ตรัสปาณาติบาต อทินนาทาน และ