เมนู

เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่า
นี้ว่า :-
12. ติณโทสานิ เขตฺตานิ โทสโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ โมหโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีคติจฺเฉสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
" นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะ
เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก
ราคะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ,
หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ใน
ท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมี
หญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ; ฉะนั้น
แล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยาก
เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก
ความอยาก จึงมีผลมาก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณโทสานิ ความว่า ความจริงหญ้า
ทั้งหลายมีข้าวฟ่างเป็นต้น เมื่องอกขึ้น ย่อมประทุษร้ายนาแห่งบุพพัณณ-

ชาติ1 และอปรัณณชาติ,2 เพราะเหตุนั้น นาเหล่านั้นจึงไม่งอกงามมาก
ได้; ราคะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแม้แห่งสัตว์ทั้งหลาย ย่อมประทุษร้ายสัตว์
ทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น ทานที่ให้ในคนที่ถูกราคะประทุษร้ายเหล่านั้น
จึงเป็นของไม่มีผลมาก; ส่วนทานที่ให้ในพระขีณาสพทั้งหลาย เป็นของมี
ผลมาก; เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " นาทั้งหลาย
มีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่าน
ผู้ปราศจากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก."
แม้ในคาถาที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.
ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร ก็ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่เหล่าเทพบุตรผู้ประชุม
กันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอังกุรเทพบุตร จบ.
ตัณหาวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 24 จบ.
1. บุพพัณณชาติ=พืชที่จะพึงกินอ่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด. 2. อปรัณณชาติ=พืชที่จะพึงกิน
ทีหลัง หรืออาหาร คือถั่วและผักอื่น ๆ.

คาถาธรรมบท



ภิกขุวรรค1ที่ 25



ว่าด้วยทางเดินของภิกษุ


[35] 1. ความสำรวมทางตา เป็นคุณยังประโยชน์ให้
สำเร็จ ความสำรวมทางหู เป็นคุณยังประโยชน์ให้
สำเร็จ ความสำรวมทางจมูก เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ ความสำรวมทางลิ้น เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ ความสำรวมทางกาย เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ ความสำรวมทางใจ เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
2. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวม
แล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว มีวาจาสำรวมแล้ว มีตน
สำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิต
ตั้งมั่นแล้ว เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า เป็นภิกษุ.
3. ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่านแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้น
ย่อมไพเราะ.
4. ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม
ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่
เสื่อมจากพระสัทธรรม.

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 2 เรื่อง.