เมนู

รักษาโภคทรัพย์ทั้งหลายในเรือนนี้ได้" จึงนำเด็กนั้นไปสู่ป่า จับที่คอ
แล้วบีบคอเหมือนบีบหัวมัน ให้ตายแล้วที่โคนกอไม้แห่งหนึ่ง แล้วทิ้งเด็ก
นั้นไว้ในที่นั้นนั่นแหละ." นี้เป็นบุรพกรรมของเศรษฐีนั้น.

สรุปกรรมและผลแห่งกรรมของเศรษฐี


เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า " มหาบพิตร ด้วย
ผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐี ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี
ด้วยบิณฑบาตนั้นแล เศรษฐีนั้นจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึง 7 ครั้ง; ด้วย
ผลที่เหลืออยู่แห่งกรรมนั้นนั่นแล เศรษฐีจึงครองความเป็นเศรษฐีอยู่ใน
กรุงสาวัตถีนี้แล ถึง 7 ครั้ง. มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้
เศรษฐีนั้นให้ทานแล้ว มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า ' พวกทาสหรือ
กรรมกร พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ยังดีกว่า,' จิตของเศรษฐีนั้น จึงไม่น้อม
ไปเพื่อการบริโภคภัตอย่างฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยผ้าอย่าง
ฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยยานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่น้อมไปเพื่อ
บริโภคกามคุณ 5 อันดียิ่ง. มหาพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐี
นั้น ปลงแล้วซึ่งบุตรน้อยคนหนึ่งของพี่ชายจากชีวิต เพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์สมบัติ; เศรษฐีนั้นจึงไหม้แล้วในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปี
เป็นอันมาก สิ้นพันปีเป็นอันมาก สิ้นแสนปีเป็นอันมาก. ชนทั้งหลายยัง
ทรัพย์สมบัติที่ไร้บุตรครั้งที่ 7 นี้ให้เข้าสู่พระคลังหลวง ด้วยผลอันเหลือ
อยู่แห่งกรรมนั้นแล. มหาบพิตร อนึ่งเล่า บุญเก่าของคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้น
แล หมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่อันคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นไม่สั่งสมแล้ว, มหา-
บพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เศรษฐีไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก."

โภคะย่อมฆ่าคนผู้ทรามปัญญา


พระราชาทรงสดับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว จึงกราบทูลว่า
" พระเจ้าข้า น่าอัศจรรย์ นี้เป็นกรรมอันหนัก, เศรษฐีนั้น เมื่อโภคะ
ชื่อว่ามีประมาณเท่านี้ มีอยู่ ไม่ใช้สอยด้วยตนเองเลย, เมื่อพระพุทธเจ้า
เช่นกับพระองค์ ประทับอยู่ในวิหารใกล้ๆ ก็มิได้ทำบุญกรรม."
พระศาสดาตรัสว่า " จริงเช่นนั้น มหาบพิตร ชื่อว่าบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ได้โภคะทั้งหลายแล้วย่อมไม่แสวงหานิพพาน, อนึ่ง ตัณหาซึ่งเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน" ดังนี้แล้ว
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
11. หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ โน จ ปารคเวสิโน
โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ.
ติสโทสานิ เขตฺตานิ ราคโทสะ อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตราเคสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
" โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา, แต่
ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ; คนทรามปัญญา
ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก
ในโภคะ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โน จ ปารคเวสิโน ความว่า
แต่โภคะทั้งหลาย ย่อมไม่ฆ่าบุคคลผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานโดยปกติ.
บาทพระคาถาว่า หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ ความว่า บุคคลผู้มี