เมนู

8. นิฏฐํ คโต อสนฺตาสี วีตตโณฺห อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมยํ สมฺสฺสโย.
วีตตโณฺห อนาทาโน นิรุตฺติปทโกวิโท
อกฺขรานํ สนฺนิปาตํ ชญฺญา ปุพฺพปรานิ จ
ส เว อนฺติมสารีโร มหาปญฺโญ มหาปุริโสติ วุจฺจติ.
" (ผู้ใด) ถึงความสำเร็จ มีปกติไม่สะดุ้ง มีตัณหา
ไปปราศแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ ได้ตัดลูกศร
อันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว, กายนี้ (ของผู้นั้น)
ชื่อว่ามีในที่สุด. (ผู้ใด) มีตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มี
ความถือมั่น ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ รู้ที่ประชุมแห่ง
อักษรทั้งหลาย. และรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่ง
อักษรทั้งหลาย. ผู้นั้นแล มีสรีระมีในที่สุด เราย่อม
เรียกว่าผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า นิฏฺฐํ คโต ความว่า พระอรหัต
ชื่อว่า ความสำเร็จของบรรพชิตทั้งหลาย ในพระศาสนานี้, ถึง คือบรรลุ
พระอรหัตนั้น.
บทว่า อสนฺตาสี คือ ผู้ชื่อว่าไม่สะดุ้ง เพราะไม่มีกิเลสเครื่องสะดุ้ง
คือราคะเป็นต้น ในภายใน.
บาทพระคาถาว่า อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ คือ ได้ตัดลูกศรอันมีปกติ
ให้ไปสู่ภพทั้งสิ้น.

บทว่า สมุสฺสโย คือ ร่างกายนี้ ของผู้นั้นมีในที่สุด.
บทว่า อนาทาโน คือ ผู้ไม่มีการยึดถือในขันธ์เป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า นิรุตฺติปทโกวิโท ความว่า ผู้ฉลาดในปฏิสัมภิทา
แม้ทั้ง 4 คือ ในนิรุตติ และบทที่เหลือ.
สองบาทพระคาถาว่า อกฺขรานํ สนฺนปาตํ ชญฺญา ปุพฺพาปรานิ จ
ความว่า ย่อมรู้หมวดหมู่แห่งอักษร กล่าวคือที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย
และรู้อักษรเบื้องปลายด้วยอักษรเบื้องต้น และอักษรเบื้องต้นด้วยอักษร
เบื้องปลาย. ชื่อว่า รู้จักอักษรเบื้องปลายด้วยอักษรเบื้องต้น คือเมื่อเบื้องต้น
ปรากฏอยู่ ในท่ามกลางและที่สุด แม้ไม่ปรากฏ, ก็ย่อมรู้ได้ว่า " นี้เป็น
ท่ามกลางแห่งอักษรเหล่านี้, นี้เป็นที่สุด," ชื่อว่า ย่อมรู้จักอักษรเบื้องต้น
ด้วยอักษรเบื้องปลาย คือเมื่อที่สุดปรากฏอยู่ เมื่อเบื้องต้นและท่ามกลาง
แม้ไม่ปรากฏ, ก็ย่อมรู้ได้ว่า " นี้เป็นท่ามกลางแห่งอักษรเหล่านั้น, นี้เป็น
เบื้องต้น" เมื่อท่ามกลางปรากฏอยู่ เมื่อเบื้องต้นและที่สุดแม้ไม่ปรากฏ,
ย่อมทราบได้เหมือนกันว่า " นี้เป็นเบื้องต้นแห่งอักษรเหล่านั้น, นี้เป็น
ที่สุด."
บทว่า มหาปญฺโญ ความว่า ท่านผู้มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั่นพระ-
ศาสดาตรัสเรียกว่า ผู้มีปัญญามาก เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
อันกำหนดถือเอาซึ่งอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ และศีลขันธ์เป็นต้น
อันใหญ่ และตรัสว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะความเป็นผู้มีจิตพ้นแล้ว โดย
พระบาลีว่า " สารีบุตร เราเรียกผู้มีจิตพ้นแล้วแล ว่า " มหาบุรุษ."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.
ฝ่ายมารผู้มีบาปคิดว่า " พระสมณโคดม ย่อมทรงรู้จักเรา" แล้ว
อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง ดังนี้แล.
เรื่องมาร จบ.

9. เรื่องอุปกาชีวก [248]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดาทรงปรารภอาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพาภิภู " เป็นต้น.

อุปกาชีวกทูลถามพระศาสดา


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงบรรลุพระสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว ทรงยังกาลให้ล่วงไปที่ควงไม้โพธิ์ 7 สัปดาห์ ทรงถือบาตร
และจีวรของพระองค์ เสด็จดำเนินไปสิ้นทางประมาณ 18 โยชน์มุ่งกรุง-
พาราณสี เพื่อทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ได้ทอดพระเนตรเห็น
อาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง.
ฝ่ายอุปกาชีวกนั้น เห็นพระศาสดาแล้ว ทูลถามว่า " ผู้มีอายุ อินทรีย์
ของท่านผ่องใสแล, ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง; ผู้มีอายุ ท่านบวชเฉพาะ
ใคร ? ใครเป็นศาสดาของท่าน ? หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ?"

พระศาสดาตรัสตอบอุปกาชีวก


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า " เราไม่มีอุปัชฌาย์หรืออาจารย์" ดังนี้
แล้ว ตรัสพระคาถานี้แก่อุปกาชีวกนั้น ว่า :-
9. สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต
สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต
สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺยํ ฯ
" เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรมทุก
อย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่าง