เมนู

เอส โข วฺยนฺติกาหติ
เอสจฺเฉจฺฉติ มารพนฺธนํ.
" ตัณหา ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี
ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม, บุคคลนั่นแลย่อมทำ
เครื่องผูกให้มั่น. ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้า
ไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ, ภิกษุ
นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัด
เครื่องผูกแห่งมารได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตกฺกมถิตสฺส ได้แก่ ผู้ถูกวิตก 3
มีกามวิตกเป็นต้นย่ำยียิ่ง.
บทว่า ติพฺพราคสฺส คือ ผู้มีราคะหนาแน่น.
บทว่า สุภานุปสฺสิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า " งาม "
เพราะความเป็นผู้มีใจอันตนปล่อยไป ในอารมณ์อันน่าปรารถนาทั้งหลาย
ด้วยสามารถแห่งการยึดถือโดยสุภนิมิตเป็นต้น.
บทว่า ตณฺหา เป็นต้น ความว่า บรรดาฌานเป็นต้น แม้ฌานหนึ่ง
ย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น. โดยที่แท้ ตัณหาเกิดทางทวาร 6
ย่อมเจริญยิ่ง.
บทว่า เอส โข ความว่า บุคคลนั่นแล ย่อมทำเครื่องผูกคือตัณหา
ชื่อว่า ให้มั่น.
บทว่า วิตกฺกูปสเม ความว่า บรรดาอสุภะ 10 ในปฐมฌานกล่าว
คือธรรมเป็นที่ระงับมิจฉาวิตกทั้งหลาย.

สองบทว่า สทา สโต ความว่า ภิกษุใด เป็นผู้ยินดียิ่งในปฐมฌานนี้
ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นเป็นนิตย์เจริญอสุภฌานนั้นอยู่.
บทว่า พฺ1ยนฺติกาหติ ความว่า ภิกษุนั่น จักทำตัณหาอันจะให้เกิด
ในภพ 3 ให้ไปปราศได้.
บทว่า มารพนฺธฺนํ ความว่า ภิกษุนั่น จักตัดแม้เครื่องผูกแห่งมาร
กล่าวคือวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 เสียได้.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องจูฬธนุคคหบัณฑิต จบ.
1. บาลีเป็น วฺยนฺติกาหติ.

8. เรื่องมาร [247]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมาร ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า "นิฏฺฐํ คโต" เป็นต้น.

มารแปลงเป็นช้างรัดกระหม่อนพระราหุล


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่งเวลาวิกาล พระเถระเป็นอันมากเข้า
ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ไปถึงที่เป็นที่อยู่ของพระราหุลเถระแล้วก็ไล่ท่าน
ให้ลุกขึ้น. ท่านเมื่อไม่เห็นที่เป็นที่อยู่ในที่อื่น จึงไปนอนที่หน้ามุขพระ-
คันธกุฎีของพระตถาคต. คราวนั้น ท่านผู้มีอายุนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว
ได้เป็นผู้ยังไม่มีพรรษาเลย.
มารชื่อวสวัตดี ดำรงอยู่ในภพนั่นแหละ เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนอน
ที่หน้ามุขพระคันธกุฎี จึงคิดว่า " พระหน่อน้อยผู้แทงใจของพระสมณ-
โคดมนอนข้างนอก, ส่วนพระองค์ผทมในภายในพระคันธกุฎี; เมื่อเรา
บีบคั้นพระหน่อน้อย พระองค์เองก็จัก (เป็นเหมือน) ถูกบีบคั้น (ด้วย)."
มารนั้น นิรมิตเพศเป็นพระยาช้างใหญ่มา เอางวงรัดกระหม่อมพระเถระ
แล้วร้องดุจนกกระเรียนด้วยเสียงดัง.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุที่พระราหุลไม่กลัว


พระศาสดาผทมในพระคันธกุฎี ทรงทราบว่าช้างนั้นเป็นมาร จึง
ตรัสว่า " มาร คนเช่นท่านนั้นแม้ตั้งแสน ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้ความ
กลัวเกิดแก่บุตรของเราได้, เพราะว่าบุตรของเรามีปกติไม่สะดุ้ง มีตัณหา
ไปปราศจากแล้ว มีความเพียรใหญ่ มีปัญญามาก" ดังนี้แล้ว ได้ทรง
ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-