เมนู

ผมเป็นผู้กระสัน," จึงนำไปสู่สำนักพระอาจารย์และอุปัชฌายะ. อาจารย์
และอุปัชฌาย์แม้เหล่านั้น ก็นำภิกษุนั้นไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล
ความนั้นแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงบุรพกรรมของภิกษุหนุ่มนั้น


พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ นัยว่า เธอเป็นผู้กระสันจริงหรือ ?"
เมื่อภิกษุนั้นทูลว่า " จริง " จึงตรัสว่า " ภิกษุ เหตุไร ? เธอบวชใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้ปรารภความเพียรเช่นดังเรา จึงไม่ให้เขาเรียก
ตนว่า ' พระโสดาบัน ' หรือ ' พระสกทาคามี ' กลับให้เขาเรียกว่า
' เป็นผู้กระสัน ' ได้, เธอทำกรรมหนักเสียแล้ว" จึงทรงซักถามว่า
" เพราะเหตุไร ? เธอจึงเป็นผู้กระสัน " เมื่อภิกษุนั้นทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หญิงคนหนึ่ง พูดกะข้าพระองค์อย่างนี้," จึงตรัสว่า
" ภิกษุ กิริยาของนางนั่น ไม่น่าอัศจรรย์: เพราะในกาลก่อน นางละบัณฑิต
ผู้เลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยังความสิเนหาในบุรุษคนหนึ่ง ซึ่งตนเห็น
ครู่เดียวนั้นให้เกิดขึ้น ทำบัณฑิตผู้เลิศนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิต" อันภิกษุ
ทั้งหลายทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงประกาศเรื่องนั้น จึงทรงทำให้แจ้งซึ่ง
ความที่จูฬธนุคคหบัณฑิต เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
ในกรุงตักกสิลา พาธิดาผู้อันอาจารย์นั้นยินดีให้แล้ว ไปสู่กรุงพาราณสี
เมื่อตนฆ่าโจรตาย 49 คน ด้วยลูกศร 49 ลูก ที่ปากดงแห่งหนึ่ง, เมื่อ
ลูกศรหมดแล้ว จึงจับโจรผู้หัวหน้าฟาดให้ล้มลงที่พื้นดิน. กล่าวว่า " นาง
ผู้เจริญ หล่อนจงนำดาบมา," นาง (กลับ) ทำความสิเนหาในโจรซึ่งตน
เห็นในขณะนั้นแล้ว วางด้ามดาบไว้ในมือโจร ให้โจรฆ่าแล้วในกาลเป็น
จูฬธนุคคหบัณฑิต ในอดีตกาล และภาวะคือโจรพาหญิงนั้นไป พลางคิด

ว่า " หญิงนี้เห็นชายอื่นแล้ว จักให้เขาฆ่าเราบ้างเช่นเดียวกับสามีของตน,
เราจักต้องการอะไรด้วยหญิงนี้" เห็นแม่น้ำสายหนึ่ง จึงพักนางไว้ที่ฝั่งนี้
ถือเอาห่อภัณฑะของนางไป สั่งว่า " หล่อนจงรออยู่ ณ ที่นี้แหละ จนกว่า
ฉันนำห่อภัณฑะข้ามไป " ละนางไว้ ณ พี่นั้นนั่นเอง (หนี) ไปเสีย แล้ว
ตรัสจูฬธนุคคหชาดก1นี้ในปัญจกนิบาต ให้พิสดารว่า:-
" พราหมณ์ ท่านถือเอาภัณฑะทั้งหมด ข้ามฝั่ง
ได้แล้ว, จงรีบกลับมารับฉัน ให้ข้ามไปในบัดนี้โดยเร็ว
บ้างนะ ผู้เจริญ."
" แม่นางงาม ยอมแลกฉัน ผู้มิใช่ผัว ไม่ได้
เชยชิด ด้วยผัวผู้เชยชิดมานาน, แม่นางงาม พึง
แลกชายอื่นแม้ด้วยฉัน, ฉันจักไปจากที่นี้ให้ไกล
ที่สุดที่จะไกลได้."
" ใครนี้ ทำการหัวเราะอยู่ที่กอตะไคร้น้ำ, ในที่นี้
การฟ้อนก็ดี การขับก็ดี การประโคมก็ดี ที่บุคคลจัด
ตั้งขึ้น มิได้มี, แม่นางงาม ผู้มีตะโพกอันผึ่งฝาย
ทำไมเล่า ? แม่จึงซิกซี้ในกาลเป็นที่ร้องไห้.2"
" สุนัขจิ้งจอก ชาติชัมพุกะ ผู้โง่เขลา ทราม
ปัญญา เจ้ามีปัญญาน้อย, เจ้าเสื่อมจากปลาและชิ้น
(เนื้อ) แล้วก็ซบเซาอยู่ ดุจสัตว์กำพร้า."

1. ขุ. ชา. 27/ข้อ 818. อรรถกถา. 4/1506. 2. โดยพยัญชนะ แปลว่า ในกาลใช่กาล
เป็นที่หัวเราะ.

" โทษของคนเหล่าอื่น เห็นได้ง่าย, ส่วนโทษ
ของตน เห็นได้ยาก, หล่อนนั่นเอง เสื่อมทั้งผัวทั้งชู้
ซบเซาอยู่ แม้ (ยิ่ง) กว่าเรา."
" พระยาเนื้อ ชาติซัมพุกะ เรื่องนั้น เป็นเหมือน
เจ้ากล่าว. ฉันนั้น ไปจากที่นี้แล้ว จักเป็นผู้ไปตาม
อำนาจของภัสดาแน่แท้."
" ผู้ใดพึงนำภาชนะดินไปได้, แม้ภาชนะสำริด
ผู้นั้นก็พึงนำไปได้; หล่อนทำชั่วจนช่ำ, ก็จักทำชั่ว
อย่างนั้นแม้อีก."

แล้วตรัสว่า " ในกาลนั้น จูฬธนุคคหบัณฑิตได้เป็นเธอ, หญิงนั้นได้เป็น
หญิงรุ่นสาวนี้ในบัดนี้, ท้าวสักกเทวราช ผู้มาโดยรูปสุนัขจิ้งจอก ทำการ
ข่มขี่นางนั้น เป็นเรานี่แหละ" แล้วทรงโอวาทภิกษุนั้นว่า " หญิงนั้น
ปลงบัณฑิตผู้เลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น จากชีวิต เพราะความสิเนหาในชาย
คนหนึ่ง ซึ่งตนเห็นครู่เดียวนั้นอย่างนี้; ภิกษุเธอจงตัดตัณหาของเธอ อัน
ปรารภหญิงนั้นเกิดขึ้นเสีย" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิงขึ้นไป
จึงทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
7. วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน
ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน
ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ
เอส โข ทฬฺหํ กโรติ พนฺธนํ.
วิตกฺกูปสเม จ โย รโต
อสุภํ ภาวยตี สทา สโต

เอส โข วฺยนฺติกาหติ
เอสจฺเฉจฺฉติ มารพนฺธนํ.
" ตัณหา ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี
ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม, บุคคลนั่นแลย่อมทำ
เครื่องผูกให้มั่น. ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้า
ไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ, ภิกษุ
นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัด
เครื่องผูกแห่งมารได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตกฺกมถิตสฺส ได้แก่ ผู้ถูกวิตก 3
มีกามวิตกเป็นต้นย่ำยียิ่ง.
บทว่า ติพฺพราคสฺส คือ ผู้มีราคะหนาแน่น.
บทว่า สุภานุปสฺสิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า " งาม "
เพราะความเป็นผู้มีใจอันตนปล่อยไป ในอารมณ์อันน่าปรารถนาทั้งหลาย
ด้วยสามารถแห่งการยึดถือโดยสุภนิมิตเป็นต้น.
บทว่า ตณฺหา เป็นต้น ความว่า บรรดาฌานเป็นต้น แม้ฌานหนึ่ง
ย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น. โดยที่แท้ ตัณหาเกิดทางทวาร 6
ย่อมเจริญยิ่ง.
บทว่า เอส โข ความว่า บุคคลนั่นแล ย่อมทำเครื่องผูกคือตัณหา
ชื่อว่า ให้มั่น.
บทว่า วิตกฺกูปสเม ความว่า บรรดาอสุภะ 10 ในปฐมฌานกล่าว
คือธรรมเป็นที่ระงับมิจฉาวิตกทั้งหลาย.