เมนู

จองจำนั้น ว่าเป็นของมั่นคงไม่. ความกำหนัดใด
ของชนทั้งหลายผู้กำหนัด ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณี
และตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตร1 แลใน
ภรรยาทั้งหลายใด, นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความ
กำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า เป็นเครื่องจองจำอัน
มั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน (แต่) เปลื้องได้
โดยยาก. นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั่น
แล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช.2"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา เป็นต้น ความว่า บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หากล่าวเครื่องจองจำที่เกิดแต่
เหล็ก กล่าวคือตรวน ชื่อว่า เกิดแต่เหล็ก ที่เกิดแต่ไม้ กล่าวคือ ชื่อ คา
และเครื่องจองจำคือเชือก ที่เขาเอาหญ้าปล้อง หรือวัตถุอย่างอื่น มีปอ
เป็นต้น ฟันทำเป็นเชือก ว่า " เป็นของมั่นคง" ไม่, เพราะความเป็น
เครื่องจองจำ ที่บุคคลสามารถตัดด้วยศัสตราทั้งหลาย มีดาบเป็นต้นได้.
บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดนักแล้ว, อธิบายว่า ผู้
กำหนัดด้วยราคะจัด.
บทว่า มณิกุณฺฑเลสุ คือในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย, อีกอย่าง
หนึ่ง (คือ) ในตุ้มหูทั้งหลายอันวิจิตรด้วยแก้วมณี.
บทว่า ทฬฺหํ ความว่า ความกำหนัดใด ของชนทั้งหลาย ผู้กำหนัด
1. แปลเติมอย่างอรรถกถา. 2. ขุ. ธ. 25/60, ชา. ทุก. 27/ข้อ 251. อรรถกถา
3/185. พันธนาคารชาดก.

ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลายนั่นแล และความเยื่อใย คือความ
ทะยานอยากได้ในบุตรและภรรยาใด, บุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย ย่อม
กล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่น อันเป็นเครื่องผูกซึ่งสำเร็จด้วยกิเลส
ว่า " มั่น. "
บทว่า โอหารินํ ความว่า ชื่อว่า มีปกติเหนี่ยวลง เพราะย่อมฉุดลง
คือนำไปในเบื้องต่ำ เพราะคร่ามาแล้วให้ตกไปในอบาย 4.
บทว่า สิถิลํ ความว่า ชื่อว่า หย่อน เพราะย่อมไม่บาดผิวหนัง
และเนื้อ คือย่อมไม่นำโลหิตออกในที่ที่ผูก ได้แก่ ไม่ให้รู้สึกแม้ความเป็น
เครื่องผูก ย่อมให้ทำการงานทั้งหลาย ในที่ทั้งหลายมีทางบกและทางน้ำ
เป็นต้นได้.
บทว่า ทุปฺปมุญฺจํ ความว่า ชื่อว่า เปลื้องได้โดยยาก ก็เพราะ
เครื่องผูกคือกิเลส อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความโลภแม้คราวเดียว
ย่อมเป็นกิเลสชาตอันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก เหมือนเต่าเปลื้องจากที่เป็น
ที่ผูกได้ยากฉะนั้น.
สองบทว่า เอตํปิ เฉตฺวาน ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่อง
ผูกคือกิเลสนั่น แม้อันมั่นอย่างนั้น ด้วยพระขรรค์คือญาณ เป็นผู้หมด
ความเยื่อใย ละกามสุขแล้ว เว้นรอบ คือหลีกออก, อธิบายว่า ย่อม
บวช.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องเรือนจำ จบ.

5. เรื่องพระนางเขมา [244]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าพิมพิสาร พระนามว่าเขมา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย
ราครตฺตา"
เป็นต้น .

หนามบ่งหนาม


ได้สดับมา พระนางเขมานั้นตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของ
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้เป็นผู้มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใสอย่างเหลือเกิน.
ก็พระนางได้ทรงสดับว่า " ทราบว่า พระศาสดาตรัสติโทษของรูป" จึง
ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา. พระราชาทรงทราบความที่
พระอัครมเหสีนั้นมัวเมาอยู่ในรูป จึงตรัสให้พวกนักกวีแต่งเพลงขับเกี่ยว
ไปในทางพรรณนาพระเวฬุวัน แล้วก็รับสั่งให้พระราชทานแก่พวกนัก
ฟ้อนเป็นต้น. เมื่อนักฟ้อนเหล่านั้นขับเพลงเหล่านั้นอยู่ พระนางทรง
สดับแล้ว พระเวฬุวันได้เป็นประหนึ่งไม่เคยทอดพระเนตรและทรงสดับ
แล้ว. พระนางตรสถามว่า " พวกท่านขับหมายถึงอุทยานแห่งไหน ?"
เมื่อพวกนักขับทูลว่า " หมายอุทยานเวฬุวันของพระองค์ พระเทเทวี" ก็ได้
ทรงปรารถนาจะเสด็จไปพระอุทยาน. พระศาสดาทรงทราบการเสด็จมา
ของพระนาง เมื่อประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทแล จึงทรง
นิรมิตหญิงรูปงาม ยืนถือพัดก้านตาลพัดอยู่ที่ข้างพระองค์
ฝ่ายพระนางเขมาเทวี เสด็จเข้าไปอยู่แล ทอดพระเนตรเห็นหญิง
นั้น จึงทรงดำริว่า " ชนทั้งหลาย ย่อมพูดกันว่า ' พระสัมมาสัมพุทธเจ้า