เมนู

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในพรหมโลก, ก็แลพระนางครั้นจุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว สับสนอยู่ด้วยอำนาจคติ จึงเกิดแล้วในกำเนิดสุกรใน
บัดนี้, เราเห็นเหตุนี้ จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ.
ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนทเถระเป็นประมุข สดับเรื่องนั้นแล้วได้
ความสังเวชเป็นอันมาก.

ราคตัณหาให้โทษมาก


พระศาสดา ทรงยังความสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว เมื่อ
จะทรงประกาศโทษแห่งราคตัณหา ประทับยืนอยู่ระหว่างถนนนั่นเอง ได้
ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
2. ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทเฬฺห
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต
นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ.
ยสฺส ฉตฺตึสตีโสตา มนาปสฺสวนา ภุสา
มหา วหนฺติ ทุทฺทิฏฺฐึ สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา.
สวนฺติ สพฺพธี โสตา ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ
ตญฺจ ทิสฺวา ลตํ ชาตํ มูลํ ปญฺญาย ฉินฺทถ.
สริตานิ สิเนหิตานิ จ
โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโน
เต สาตสิตา สุเขสิโน
เต เว ชาติชรูปคา นรา.
ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา

ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต
สํโยชนสงฺคสตฺตา
ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย.
ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา
ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต
ตสฺมา ตสิณํ วิโนทเย
ภิกฺขุ อากงฺขํ วิราคมตฺตโน.
" ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึง
บุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด,
ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัย อันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว
ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น. กระแส (แห่งตัณหา)
36 อันไหลไปในอารมณ์เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติ
กล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด, ความดำริทั้งหลายอันใหญ่
อาศัยราคะย่อมนำฉุดบุคคลนั้น ผู้มีทิฏฐิชั่วไป. กระแส
(แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่, ก็ท่านทั้ง-
หลายเห็นตัณหานั้น เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัด
รากเสียด้วยปัญญาเถิด. โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป
และเปื้อนตัณหาดุจยางเหนียว1 ย่อมมีแก่สัตว์, สัตว์
ทั้งหลายนั้น อาศัยความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหา
ความสุข, นระเหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติ

1. โดยพยัญชนะแปลว่า เป็นไปแล้วกับด้วยตัณหาดุจยางเหนียว.

ชรา. หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว
ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนายพราน
ดักได้แล้วฉะนั้น, หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสังโยชน์และ
กิเลสเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ อยู่ช้านาน.
หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อม
กระเสือกกระสนเหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้ว
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอก
กิเลสแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำควานดิ้นรนเสีย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มูเล เป็นต้น ความว่า เมื่อรากทั้ง 5
(ของต้นไม้ใด) ซึ่งทอดตรงแน่วไปใน 4 ทิศ และในภายใต้ ชื่อว่าไม่มี
อันตราย เพราะอันตรายชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาอันตรายมีการตัด การ
ผ่า และการเจาะเป็นต้น ชื่อว่ามั่นคง เพราะถึงความเป็นของมั่นคง
ต้นไม้ (นั้น) แม้ถูกบุคคลรานแล้ว ณ เบื้องบน ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว
ด้วยอำนาจกิ่งใหญ่น้อย ฉันใด,. ทุกข์นี้ ที่ต่างด้วยทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น
เมื่ออนุสัยคือความนอนเนื่องแห่งตัณหาอันเป็นไปทางทวาร 6 อันพระ-
อรหัตมรรคญาณยังไม่ขจัด คือยังตัดไม่ขาดแล้ว ย่อมเกิดร่ำไปในภพนั้นๆ
จนได้ ฉันนั้นนั่นแล.
บทว่า ยสฺส เป็นต้น ความว่า ตัณหาประกอบด้วยกระแส 36
ด้วยสามารถแห่งตัณหาวิจริตเหล่านี้ คือตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายใน 181
ตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายนอก 182 ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าไหลไปใน
1. 2. ดูความพิสดารใน อภิ. วิ. 35/530.