เมนู

ฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น, แต่ผู้ใด ย่อมย่ำยี
ตัณหานั่น ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลก
จะล่วงไปได้, ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้
นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น. เพราะ-
ฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความเจริญจงมี
แก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้
ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด, ประหนึ่งผู้
ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น, มารอย่า
ระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้
อ้อฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตจาริโน ความว่า ฌานไม่เจริญ
เทียว วิปัสสนา มรรค และผล ก็ไม่เจริญ แก่บุคคลผู้มีปกติประพฤติ
ประมาท ด้วยความประมาท มีการปล่อยสติเป็นลักษณะ อธิบายว่า
เหมือนอย่างว่า เครือเถาย่านทรายร้อยรัด รึงรัดต้นไม้อยู่ ย่อมเจริญเพื่อ
ความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด, ตัณหาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเจริญแก่บุคคล
นั้น เพราะอาศัยทวารทั้ง 6 เกิดขึ้นบ่อย ๆ.
บาทพระคาถาว่า โส ปริปฺล1วติ หุราหุรํ ความว่า บุคคลนั้น คือ
ผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ย่อมเร่ร่อนคือแล่นไปในภพน้อยใหญ่. ถามว่า
" เขาย่อมเร่ร่อนไปเหมือนอะไร ? " แก้ว่า " เหมือนวานรตัวปรารถนา
ผลไม้ โลดไปในป่าฉะนั้น." อธิบายว่า วานรเมื่อปรารถนาผลไม้ ย่อม
โลดไปในป่า. มันจับกิ่งไม้นั้น ๆ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น. ปล่อย
1. บาลีเป็น ปลวตี.

กิ่งแม้นั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ย่อมไม่ถึงความเป็นสัตว์ที่บุคคลควรกล่าวได้ว่า
" มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งเจ่าแล้ว " ฉันใด; บุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้ที่
ใคร ๆ ควรพูดได้ว่า " เขาไม่ได้อารมณ์แล้ว จึงถึงความไม่เป็นไปตาม
ความทะเยอทะยาน."
บทว่า ยํ เป็นต้น ความว่า ตัณหาอันเป็นไปในทวาร 6 นี้ ชื่อ
ว่า ลามก เพราะความเป็นของชั่ว ถึงซึ่งอันนับว่า ' วิสตฺติกา ' เพราะ
ความที่ตัณหานั้น เป็นธรรมชาติซ่านไป คือว่าข้องอยู่ในอารมณ์มีรูป
เป็นต้น โดยความเป็นดุจอาหารเจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจดอกไม้เจือ
ด้วยพิษ โดยความเป็นคุณผลไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจเครื่องบริโภค
เจือด้วยพิษ ย่อมครอบงำบุคคลใด, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล
ย่อมเจริญยิ่งในภายในของบุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝนตกรดอยู่
บ่อย ๆ ย่อมงอกงามในป่าฉะนั้น.
บทว่า ทุรจฺจยํํ เป็นต้น ความว่า ก็บุคคลใด ย่อมข่ม คือย่อม
ครอบงำตัณหานั่น คือมีประการที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่ายากที่ใครจะ
ล่วงได้ เพราะเป็นของยากจะก้าวล่วงคือละได้, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะ
เป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น; คือไม่ตั้งอยู่ได้เหมือนหยาดน้ำตกไป
บนใบบัว คือบนใบดอกปทุม ไม่ติดอยู่ได้ฉะนั้น.
หลายบทว่า ตํ โว วทามิ คือ เพราะเหตุนั้น เราขอกล่าวกะท่าน
ทั้งหลาย.
สองบทว่า ภทฺทํ โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย,
อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้ถึงความพินาศ ดุจกปิลภิกษุรูปนี้.

บทว่า มูลํ เป็นต้น ความว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา
อันเป็นไปในทวาร 6 นี้ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตมรรค. ถาม
ว่า " ขุดรากแห่งตัณหานั้น เหมือนอะไร ? แก้ว่า " เหมือนผู้ต้องการแฝก
ขุดหญ้าคมบางฉะนั้น." อธิบายว่าบุรุษผู้ต้องการแฝก ย่อมขุดหญ้าคมบาง
ด้วยจอบใหญ่ฉันใด; ท่านทั้งหลาย จงขุดรากแห่งตัณหานั้นเสียฉันนั้น.
สองบาทคาถา1ว่า มา โว นฬํ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ
ความว่า กิเลสมาร มรณมาร และเทวบุตรมาร จงอย่าระรานท่านทั้ง-
หลายบ่อย ๆ เหมือนกระแสน้ำพัดมาโดยกำลังแรง ระรานไม้อ้อซึ่งเกิดอยู่
ริมกระแสน้ำฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา บุตรของชาวประมงทั้ง 500 ถึงความสังเวช
ปรารถนาการทำที่สุดแห่งทุกข์ บวชในสำนักพระศาสดา ทำที่สุดแห่งทุกข์
ต่อกาลไม่นานเท่าไร ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็นอันเดียว โดยธรรมเป็น
เครื่องบริโภค คืออเนญชวิหารธรรมและสมาปัตติธรรม ร่วมกับพระ-
ศาสดา ดังนี้แล.
เรื่องปลาชื่อกปิละ จบ.
1. กึ่งพระคาถาสุดท้าย.

2. เรื่องนางลูกสุกร [241]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนางลูกสุกร
กินคูถตัวหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถาปิ มูเล " เป็นต้น.

พระศาสดาตรัสบุรพกรรมของนางลูกสุกร


ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อ
บิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นนางลูกสุกรตัวหนึ่ง จึงได้ทรงทำการแย้ม
(พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ. เมื่อพระองค์ทรงทำการแย้ม (พระโอษฐ์) อยู่
พระอานนทเถระได้เห็นมณฑลแห่งทัสสโนภาส ซึ่งเปล่งออกจากช่อง
พระโอษฐ์ จึงทูลถามเหตุแห่งการแย้ม (พระโอษฐ์) ว่า " พระเจ้าข้า
อะไรหนอแลเป็นเหตุ ? อะไรเป็นปัจจัยแห่งการทำการแย้มให้ปรากฏ."
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์นั้นว่า " อานนท์ เธอ
เห็นนางลูกสุกรนั่นไหม ? "
พระอานนท์. เห็น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. นางลูกสุกรนั้น ได้เกิดเป็นแม่ไก่ อยู่ในที่ใกล้โรงฉัน
แห่งหนึ่ง ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ, นาง
ไก่นั้น ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นโยคาวจรรูปหนึ่ง สาธยาย
วิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดในราชตระกูล เป็น
ราชธิดาพระนามว่า อุพพรี, ในกาลต่อมา พระนางเสด็จเข้าไปยังสถาน
เป็นที่ถ่ายอุจจาระ ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วยังปุฬวกสัญญาให้เกิด
ขึ้นในที่นั้น ได้ปฐมฌานแล้ว, พระนางดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนสิ้นอายุ