เมนู

ลำดับนั้น พระเถระตักเตือนโจรเหล่านั้นว่า " บัดนี้ พวกท่าน
เป็นผู้มีศีล; พวกท่านไม่ควรล่วงศีลแม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย; ความ
ประทุษร้ายทางใจ ก็ไม่ควรทำ." โจรเหล่านั้นรับว่า " ดีละ " แล้ว.
ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่านั้น (มา) ถึงที่นั้นแล้ว ค้นหาข้างโน้น
ข้างนี้ พบโจรเหล่านั้นแล้ว ก็ช่วยกันปลงชีวิตเสียทั้งหมด. พวกโจร
เหล่านั้นทำกาละแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก. หัวหน้าโจรได้เป็นหัวหน้า
เทพบุตร.

เทพบุตรถือปฏิสนธิในตระกูลชาวประมง


เทพบุตรเหล่านั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ด้วย
อำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดแล้วในบ้าน
ชาวประมง 500 ตระกูล ใกล้ประตูพระนครสาวัตถี. หัวหน้าเทพบุตร
ถือปฏิสนธิในเรือนของหัวหน้าชาวประมง, พวกเทพบุตรนอกนี้ ถือ
ปฏิสนธิในเรือนชาวประมงนอกนี้. การถือปฏิสนธิและการออกจากท้อง
มารดาแห่งชนเหล่านั้น ได้มีแล้วในวันเดียวกันทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.
หัวหน้าชาวประมงให้คนเที่ยวแสวงหาว่า " พวกทารกแม้เหล่าอื่น
ในบ้านนี้ เกิดแล้วในวันนี้มีอยู่บ้างไหม ?" ได้ยินความที่ทารกเหล่านั้น
เกิดแล้ว จึงสั่งให้ ๆ ทรัพย์ค่าเลี้ยงดูแก่ชาวประมงเหล่านั้น ด้วยตั้งใจว่า
" พวกทารกนั้น จักเป็นสหายของบุตรเรา." ทารกเหล่านั้นแม้ทุกคน
เป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน ได้เป็นผู้เจริญวัยโดยลำดับแล้ว บรรดาเด็ก
เหล่านั้น บุตรของหัวหน้าชาวประมงได้เป็นผู้เยี่ยมโดยยศและอำนาจ.

กปิละเกิดเป็นปลาใหญ่


แม้ภิกษุกปิละ ไหม้ในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่งแล้ว ในกาลนั้น

บังเกิดเป็นปลาใหญ่ในแม่น้ำอจิรวดี มีสีเหมือนทองคำ มีปากเหม็น ด้วย
เศษแห่งวิบาก.
ต่อมาวันหนึ่ง สหายเหล่านั้นปรึกษากันว่า " เราจักจับปลา " จึง
ถือเอาเครื่องจับสัตว์น้ำมีแหเป็นต้น ทอดไปในแม่น้ำ. ทีนั้นปลานั้นได้
เข้าไปสู่ภายในแหของคนเหล่านั้น. ชาวบ้านประมงทั้งหมด เห็นปลานั้น
แล้ว ได้ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า " ลูกของพวกเราเมื่อจับปลาครั้งแรก จับได้
ปลาทองแล้ว, คราวนี้ พระราชาจักพระราชทานทรัพย์แก่เราเพียงพอ."
สหายแม้เหล่านั้นแล เอาปลาใส่เรือ ยกเรือขึ้นแล้วก็ไปสู่พระราชสำนัก.
แม้เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นปลานั้น ตรัสว่า " นั่นอะไร ? "
พวกเขาได้กราบทูลว่า " ปลา พระเจ้าข้า." พระราชาทอดพระเนตรเห็น
ปลามีสีเหมือนทองคำ ทรงดำริว่า " พระศาสดาจักทรงทราบเหตุที่ปลานั่น
เป็นทองคำ" ดังนี้แล้ว รับสั่งให้คนถือปลา ได้เสด็จไปสู่สำนักพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. เมื่อปากอันปลาพออ้าเท่านั้น พระเชตวันทั้งสิ้น ได้มีกลิ่น
เหม็นเหลือเกิน.
พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า เพราะเหตุไร ปลา
จึงมีสีเหมือนทองคำ ? และเพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปาก
ของมัน ? "
พระศาสดา. มหาบพิตร ปลานี้ได้เป็นภิกษุชื่อกปิละ เป็นพหูสูต
มีบริวารมาก ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป,
ถูกความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว ด่าบริภาษพวกภิกษุผู้ไม่ถือคำ
ของตน ยังพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ให้
เสื่อมลงแล้ว . เขาบังเกิดในอเวจีด้วยกรรมนนั้นแล้ว บัดนี้เกิดเป็นปลา

ด้วยเศษแห่งวิบาก; ก็เพราะเธอบอกพระพุทธวจนะ กล่าวสรรเสริญคุณ
พระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน, จึงได้อัตภาพมีสีเหมือนทองคำนี้ ด้วยผลแห่ง
กรรมนั้น. เธอได้เป็นผู้บริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจาก
ปากของเธอ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น; มหาบพิตร อาตมภาพจะให้ปลานั้น
พูด.
พระราชา. ให้พูดเถิด พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามปลาว่า " เจ้าชื่อกปิละหรือ ? "
ปลา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ.
พระศาสดา. เจ้ามาจากที่ไหน ?
ปลา. มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. พระโสธนะพี่ชายใหญ่ของเจ้าไปไหน ?
ปลา. ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ก็นางสาธนีมารดาของเจ้าเล่าไปไหน ?
ปลา. เกิดในนรก พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. นางตาปนาน้องสาวของเจ้าไปไหน ?
ปลา. เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. บัดนี้เจ้าจักไปที่ไหน ?
ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า " จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า "
ดังนี้แล้ว อันความเดือดร้อนครอบงำแล้ว เอาศีรษะฟาดเรือ ทำกาละ
ในทันทีนั่นเอง เกิดในนรกแล้ว. มหาชนได้สลดใจมีโลมชาติชูชันแล้ว.
พระศาสดาตรัสกปิลสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูวาระจิตของบริษัทผู้ประชุม

กันในขณะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้สมควรแก่ขณะนั้น จึงตรัส
กปิลสูตรในสุตตนิบาต1ว่า " นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวการประพฤติ
ธรรม 1 การประพฤติพรหมจรรย์ 1 นั่น ว่าเป็นแก้วอันสูงสุด" ดังนี้
เป็นต้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
1. มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน
ตณฺห วฑฺฒติ มาลุวา วิย
โส ปลวตี หุราหุรํ
ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโร.
ยํ เอสา สหตี ชมฺมี ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา
โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ อภิวฑฺฒํว พีรณํ.
โย เจ ตํ สหตี ชมฺมึ ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา.
ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา
ตณฺหาย มูลํ ขณถ อุสีรตฺโถว พีรณํ.
มา โว นฬํ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ.
" ตัณหา ดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มี
ปกติประพฤติประมาท. เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อย
ใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น.
ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์
ต่าง ๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศก
ทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น, ดุจหญ้าคมบางอัน

1. ขุ. สุ. 25/ ข้อ 321. ธรรมจริยสูตร.

ฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น, แต่ผู้ใด ย่อมย่ำยี
ตัณหานั่น ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลก
จะล่วงไปได้, ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้
นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น. เพราะ-
ฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความเจริญจงมี
แก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้
ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด, ประหนึ่งผู้
ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น, มารอย่า
ระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้
อ้อฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตจาริโน ความว่า ฌานไม่เจริญ
เทียว วิปัสสนา มรรค และผล ก็ไม่เจริญ แก่บุคคลผู้มีปกติประพฤติ
ประมาท ด้วยความประมาท มีการปล่อยสติเป็นลักษณะ อธิบายว่า
เหมือนอย่างว่า เครือเถาย่านทรายร้อยรัด รึงรัดต้นไม้อยู่ ย่อมเจริญเพื่อ
ความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด, ตัณหาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเจริญแก่บุคคล
นั้น เพราะอาศัยทวารทั้ง 6 เกิดขึ้นบ่อย ๆ.
บาทพระคาถาว่า โส ปริปฺล1วติ หุราหุรํ ความว่า บุคคลนั้น คือ
ผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ย่อมเร่ร่อนคือแล่นไปในภพน้อยใหญ่. ถามว่า
" เขาย่อมเร่ร่อนไปเหมือนอะไร ? " แก้ว่า " เหมือนวานรตัวปรารถนา
ผลไม้ โลดไปในป่าฉะนั้น." อธิบายว่า วานรเมื่อปรารถนาผลไม้ ย่อม
โลดไปในป่า. มันจับกิ่งไม้นั้น ๆ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น. ปล่อย
1. บาลีเป็น ปลวตี.