เมนู

"ธรรมดาสตรีในโลก เป็นเหมือนแม่น้ำ หนทาง
โรงดื่ม (สุรา) ที่พักและบ่อน้ำ, เวลาย่อมไม่มีแก่สตรี
เหล่านั้น."

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ก็อุบาสก ความเป็นผู้มักประพฤตินอกใจ เป็น
มลทินของสตรี, ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ทาน, อกุศลกรรม
เป็นมลทินของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้และโลกหน้า เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องยังสัตว์ให้ฉิบหาย, แต่อวิชชา เป็นมลทินอย่างยอดยิ่ง กว่ามลทิน
ทั้งปวง" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
5. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ มจฺเฉรํ ททโต มลํ
มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตโต มลา มลตรํ อวิชฺชา ปรมํ มลํ
เอตํ มลํ ปหนฺตฺวาน นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว.

" ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของสตรี, ความ
ตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้, ธรรมอันลามกทั้งหลาย
เป็นมลทินแล ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า, เราจะ
บอกมลทินอันยิ่งกว่ามลทินนั้น, อวิชชาเป็นมลทิน
อย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ละมลทินนั่น
ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หมดมลทิน."

แก้อรรถ


ความประพฤตินอกใจ ชื่อว่า ความประพฤติชั่วในพระคาถานั้น.
1. ได้แก่ กำหนด, เขตแดน, ความจำกัด.

ก็แม้สามี ย่อมขับไล่สตรีผู้มักประพฤตินอกใจออกไปเสียจากเรือน, สตรี
นั้นไปสู่สำนักของมารดาบิดา (ก็ถูก) มารดาบิดาขับไล่ด้วยคำว่า "เอ็ง
ไม่มีความเคารพตระกูล เราไม่อยากเห็นแม้ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง" สตรี
นั้นหมดที่พึ่ง เทียวไปย่อมถึงความลำบากมาก; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา
จึงตรัสความประพฤติชั่วของสตรีนั้นว่า " เป็นมลทิน."
บทว่า ททโต แปลว่า ของผู้ให้. ก็เมื่อบุคคลใดในเวลาไถนา คิด
อยู่ว่า " เมื่อนานี้สมบูรณ์แล้ว , เราจักถวายภัตทั้งหลาย มีสลากภัต
เป็นต้น," เมื่อข้าวกล้าเผล็ดผลแล้ว, ความตระหนี่เกิดขึ้น ห้ามจิตอัน
สัมปยุตด้วยจาคะ, บุคคลนั้น เมื่อจิตสัมปยุตด้วยจาคะ ไม่งอกงามขึ้นได้
ด้วยอำนาจความตระหนี่ ย่อมไม่ได้สมบัติสามอย่าง คือ มนุษย์สมบัติ
ทิพยสมบัติ (และ) นิพพานสมบัติ; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า
" ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้." แม้ในบทอื่น ๆ ซึ่งมีรูปอย่างนี้ ก็
มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า ปาปกา ธมฺมา ความว่า ก็อกุศลธรรมทั้งหลายเป็น
มลทินทั้งนั้น ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. บทว่า ตโต ความว่า กว่า
มลทินที่ตรัสแล้ว ในหนหลัง. บทว่า มลตรํ ความว่า เราจะบอกมลทิน
อันยิ่งแก่ท่านทั้งหลาย.
บทว่า อวิชฺชา ความว่า ความไม่รู้ อันมีวัตถุ1 8 นั่นแล เป็น
มลทินอย่างยิ่ง.
1. พึงดู อวิชชา 8 ในธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2 หมวด 8.

บทว่า ปหนฺตฺวาน ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละมลทิน
นั่นได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หามลทินมิได้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง จบ.

6. เรื่องภิกษุชื่อจูฬสารี [187]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริก
ของพระสารีบุตรเถระ ชื่อจูฬสารี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สีชีวํ
อหิริเกน"
เป็นต้น.

พระจูฬสารีได้โภชนะเพระทำเวชกรรม


ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระจูฬสารีนั้นทำเวชกรรมแล้วได้โภชนะ
อันประณีตแล้ว ถือออกไปอยู่ พบพระเถระในระหว่างทาง จึงเรียนว่า
" ท่านขอรับ โภชนะนี้ กระผมทำเวชกรรมได้แล้ว, ใต้เท้าจักไม่ได้
โภชนะเห็นปานนี้ในที่อื่น, ขอใต้เท้าจงฉันโภชนะนี้, กระผมจักทำ
เวชกรรม นำอาหารเห็นปานนี้มาเพื่อใต้เท้าตลอดกาลเป็นนิตย์." พระเถระ
ฟังคำของพระจูฬสารีนั้นแล้ว ก็นิ่งเฉย หลีกไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายมาสู่
วิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระศาสดา.

ผู้ตั้งอยู่ในอเนสนกรรมเป็นอยู่ง่าย


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาบุคคลผู้ไม่มีความ
ละอาย ผู้คะนอง เป็นผู้เช่นกับกา ตั้งอยู่ในอเนสนา 21 อย่าง ย่อม
เป็นอยู่ง่าย, ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ย่อมเป็นอยู่ยาก"
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
6. สุชีวํ อหิริเกน กากสูเรน ธํสินา
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ.