เมนู

คาถาธรรมบท



ตัณหาวรรคที่ 24

1

ว่าด้วยตัณหา



[34] 1. ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแต่คนผู้มี
ปกติประมาท เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่
ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหา
นี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรด
แล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น แต่ผู้ใดย่ำยีตัณหานั่นซึ่งเป็น
ธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้ ความ
โศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำ
ตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่าน
ทั้งหลายว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่
ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหา
เสียเถิด ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบาง
เสียฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจ
กระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น.
2. ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึง
บุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 12 เรื่อง.

ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว
ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น กระแส (แห่งตัณหา)
36 อันไหลไปรนอารมณ์เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติ
กล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด ความดำริทั้งหลายอันใหญ่
อาศัยราคะย่อมนำบุคคลนั้นผู้มีทิฏฐิชั่วไป กระแส
(แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้ง-
หลายเห็นตัณหานั้น เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัด
รากเสียด้วยปัญญา โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป และ
เปื้อนตัณหาดุจยางเหนียวย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ทั้ง-
หลายนั้นอาศัยความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหาความ
สุข นระเหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติชรา
หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อม
กระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนายพรานดักได้
แล้วฉะนั้น หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสังโยชน์และกิเลส
เครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ อยู่ช้านาน หมู่สัตว์
อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือก
กระสนเหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้วฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่
ตน พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำความดิ้นรนเสีย.

3. บุคคลใด มีอาลัยดุจหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่า
ออกแล้ว น้อมไปในป่า (คือตปธรรม) พ้นจากป่า

แล้ว ยังแล่นไปสู่ป่าตามเดิม ท่านทั้งหลายจงแลดู
บุคคลนั้นนั่นแล เขาพ้นแล้ว (จากเครื่องผูก) ยัง
แล่นไปสู่เครื่องผูกตามเดิม.

4. เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้
และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าว
เครื่องจองจำนั้นว่าเป็นของมั่นคงไม่ ความกำหนัดใด
ของชนทั้งหลายผู้กำหนัดยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและ
ตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตรและในภรรยา
ทั้งหลายใด นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความกำหนัด
และครามเยื่อใยนั้นว่ามั่นคง.

5. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่
กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวทำ
ไว้เองฉะนั้น ธีรชนทั้งหลายตัดกระแสตัณหาแม้นั้น
แล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวง.

6. ท่านจงเปลื้อง (อาลัย ) ในก่อนเสีย จง
เปลื้อง ( อาลัย) ข้างหลังเสีย จงเปลื้อง (อาลัย)
ในท่ามกลางเสีย จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้น
ในธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.

7. ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี
ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม บุคคลนั่นแลย่อมทำ
เครื่องผูกให้มั่น ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้า
ไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ ภิกษุ

นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัด
เครื่องผูกแห่งมารได้.

8. (ผู้ใด) ถึงความสำเร็จ มีปกติไม่สะดุ้ง มี
ตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ ได้
ตัดลูกศรอันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว กายนี้
(ของผู้นั้น) ชื่อว่าไม่มีที่สุด (ผู้ใด) มีตัณหาไป
ปราศแล้ว ไม่มีความถือมั่น ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ
รู้ที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย และรู้เบื้องต้นและ
เบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ผู้นั้นแล มีสรีระมีใน
ที่สุด เราย่อมเรียกว่า ผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ.

9. เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรม
ทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้แล้ว
ทุกอย่าง พ้นแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
ตัณหา รู้เองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า ( ว่าเป็นอุปัชฌาย์
อาจารย์)

10. ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่ง
ธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ย่อม
ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อม
ชนะทุกข์ทั้งปวง.

11. โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่
ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ คนทรามปัญญา

ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก
ในโภคะ.

12. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มี
ราคะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศ-
จากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้า
เป็นโทษ หมู่สัตว์ก็มีโทสะเป็นโทษฉะนั้นแล ทาน
ที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก นาทั้ง-
หลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะจึงมีผล
มาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีความ
อยากเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก
ความอยาก จึงมีผลมาก.

จบตัณหาวรรคที่ 24

24. ตัณหาวรรควรรณนา



1. เรื่องปลาชื่อกปิละ [240]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มนุชสฺส " เป็นต้น.

สองพี่น้องออกบวช


ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว กุลบุตรสองคนพี่น้องออกบวชในสำนักแห่ง
พระสาวกทั้งหลาย.
บรรดากุลบุตรสองคนนั้น คนพี่ได้ชื่อว่าโสธนะ, คนน้องชื่อกปิละ.
ส่วนมารดาของคนทั้งสองนั้น ชื่อว่าสาธนี, น้องสาวชื่อตาปนา. แม้
หญิงทั้งสองนั้น ก็บวชแล้วใน ( สำนัก ) ภิกษุณี. เมื่อคนเหล่านั้นบวช
แล้วอย่างนั้น พี่น้องทั้งสองทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอาจรรย์และพระ-
อุปัชฌายะอยู่ วันหนึ่ง ถามว่า " ท่านขอรับ ธุระในพระศาสนานี้มี
เท่าไร ?" ได้ยินว่า " ธุระมี 2 อย่าง คือ คันถธุระ 1 วิปัสสนา-
ธุระ 1," ภิกษุผู้เป็นพี่คิดว่า " เราจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" อยู่ในสำนัก
แห่งพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ 5 พรรษาแล้ว เรียนกัมมัฏฐานจน
ถึงพระอรหัต เข้าไปสู่ป่าพยายามอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตผล.

น้องชายเมาในคันถธุระ


ภิกษุน้องชายคิดว่า " เรายังหนุ่มก่อน, ในเวลาแก่จึงจักบำเพ็ญ