เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺหิ ความว่า ก็เมื่อกิจ มีการ
ทำจีวรเป็นต้นก็ดี มีการระงับอธิกรณ์เป็นต้นก็ดี บังเกิดขึ้นแก่บรรพชิต
บ้าง. (หรือ ) เมื่อกิจ มีกสิกรรมเป็นต้นก็ดี มีการถูกเหล่าชนผู้อาศัย
ร่วมด้วยฝักฝ่ายที่มีกำลังย่ำยีก็ดี บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์บ้าง, สหายเหล่าใด
สามารถเพื่อยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ หรือให้สงบได้, สหายผู้เห็นปานนั้น
นำความสุขมาให้.
สองบทว่า ตุฏฺฐี สุขา ความว่า ก็แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ไม่
สันโดษแล้วด้วยของแห่งตน จึงปรารภทุจริตกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น,
แม้บรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่สันโดษแล้วด้วยปัจจัยของตน จึงปรารภอเนสนา
มีประการต่าง ๆ, เพราะเหตุนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองนั้น จึงไม่
ประสพความสุขเลย; เพราะฉะนั้น ความสันโดษด้วยของมีอยู่แห่งตน
นอกนี้ ๆ คือเล็กน้อยหรือมากมายนี่เอง นำความสุขมาให้.
บทว่า ปุญฺญํ ความว่า ก็บุญกรรมที่เริ่มทำไว้ตามอัธยาศัยอย่างไร
นั่นแล นำความสุขมาให้ในมรณกาล.
บทว่า สพฺพสฺส ความว่า อนึ่ง พระอรหัต กล่าวคือการละ
วัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้นั่นแล ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลกนี้.
การปฏิบัติชอบในมารดา ชื่อว่า มตฺเตยฺยตา. การปฏิบัติชอบใน
บิดา ชื่อว่า เปตฺเตยฺยตา การทะนุบำรุงมารดาบิดานี่แล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง. อันที่จริง มารดาและบิดาทราบว่า
บุตรทั้งหลายไม่บำรุงแล้ว ย่อมฝังทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งตนเสียใน
แผ่นดินบ้าง ย่อมสละให้แก่ชนเหล่าอื่นบ้าง, อนึ่ง การนินทาย่อมเป็นไป

แก่บุตรเหล่านั้นว่า " คนพวกนี้ไม่ทะนุบำรุงมารดาบิดา," บุตรเหล่านั้น
ย่อมบังเกิดแม้ในคูถนรก เพราะกายแตกทำลายไป; ส่วนบุตรเหล่าใด
ทะนุบำรุงมารดาบิดาโดยเคารพ, บุตรเหล่านั้นย่อมได้รับทรัพย์อันเป็น
ของมีอยู่ของมารดาบิดาเหล่านั้น ทั้งย่อมได้ซึ่งการสรรเสริญ, เพราะ
ร่างกายแตกทำลายไป ย่อมบังเกิดในสวรรค์; เพราะฉะนั้น แม้ทั้งสอง
ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นำความสุขมาให้ " ดังนี้.
การปฏิบัติชอบในบรรพชิตทั้งหลาย ชื่อว่า สามญฺญตา. การ
ปฏิบัติชอบในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกแห่งพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วเท่านั้น ชื่อว่า พฺรหฺมญฺญตา.
ความเป็นคือการบำรุงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก
ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยปัจจัย 4 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแม้ด้วยบท
ทั้งสอง. แม้ข้อนี้ พระองค์ก็ตรัสว่า ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลก (นี้).
บทว่า สีลํ เป็นต้น ความว่า แท้จริง เครื่องอลังการทั้งหลาย
มีแก้วมณี ตุ้มหู และผ้าแดงเป็นต้น ย่อมงดงามสำหรับชนผู้ตั้งอยู่แล้วใน
วัยนั้น ๆ เท่านั้น, เครื่องอลังการของคนหนุ่ม จะงดงามในกาลแก่ หรือ
เครื่องอลังการของคนแก่ จะงดงามในกาลหนุ่ม ก็หาไม่, อนึ่ง (เครื่อง
อลังการที่ตกแต่งไม่ถูกกาลนี้) ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายถ่ายเดียว เพราะ
ให้การครหาบังเกิดขึ้นว่า " คนนั้นชะรอยจะเป็นบ้า" ส่วนประเภทแห่ง
ศีลมีศีล 5 และศีล 10 เป็นต้น ย่อมงดงามในทุก ๆ วัย ทั้งแก่คนหนุ่ม
ทั้งแก่คนแก่ทีเดียว, ย่อมนำมาแต่ความโสมนัสถ่ายเดียว เพราะให้ความ
สรรเสริญบังเกิดขึ้นว่า "โอ ท่านผู้นี้มีศีลหนอ " เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " สุขํ ยาว ชรา สีลํ."

สองบทว่า สทฺธา ปติฏฺฐิตา ความว่า ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตระแม้ทั้งสองอย่าง เป็นคุณชาติไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นแล้วเทียว นำ
ความสุขมาให้.
บาทพระคาถาว่า สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ ความว่า การได้เฉพาะ
ปัญญาแม้ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ นำความสุขมาให้.
สองบทว่า ปาปานํ อกรณํ ความว่า อนึ่ง การไม่กระทำบาป
ทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งเสตุฆาตะ (คืออริยมรรค) นำความสุขมาให้ใน
โลกนี้.
ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก ดังนี้แล.
เรื่องมาร จบ.
นาควรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 23 จบ.

คาถาธรรมบท



ตัณหาวรรคที่ 24

1

ว่าด้วยตัณหา



[34] 1. ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแต่คนผู้มี
ปกติประมาท เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่
ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหา
นี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรด
แล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น แต่ผู้ใดย่ำยีตัณหานั่นซึ่งเป็น
ธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้ ความ
โศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำ
ตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่าน
ทั้งหลายว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่
ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหา
เสียเถิด ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบาง
เสียฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจ
กระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น.
2. ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึง
บุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 12 เรื่อง.