เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺหิ ความว่า ก็เมื่อกิจ มีการ
ทำจีวรเป็นต้นก็ดี มีการระงับอธิกรณ์เป็นต้นก็ดี บังเกิดขึ้นแก่บรรพชิต
บ้าง. (หรือ ) เมื่อกิจ มีกสิกรรมเป็นต้นก็ดี มีการถูกเหล่าชนผู้อาศัย
ร่วมด้วยฝักฝ่ายที่มีกำลังย่ำยีก็ดี บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์บ้าง, สหายเหล่าใด
สามารถเพื่อยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ หรือให้สงบได้, สหายผู้เห็นปานนั้น
นำความสุขมาให้.
สองบทว่า ตุฏฺฐี สุขา ความว่า ก็แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ไม่
สันโดษแล้วด้วยของแห่งตน จึงปรารภทุจริตกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น,
แม้บรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่สันโดษแล้วด้วยปัจจัยของตน จึงปรารภอเนสนา
มีประการต่าง ๆ, เพราะเหตุนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองนั้น จึงไม่
ประสพความสุขเลย; เพราะฉะนั้น ความสันโดษด้วยของมีอยู่แห่งตน
นอกนี้ ๆ คือเล็กน้อยหรือมากมายนี่เอง นำความสุขมาให้.
บทว่า ปุญฺญํ ความว่า ก็บุญกรรมที่เริ่มทำไว้ตามอัธยาศัยอย่างไร
นั่นแล นำความสุขมาให้ในมรณกาล.
บทว่า สพฺพสฺส ความว่า อนึ่ง พระอรหัต กล่าวคือการละ
วัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้นั่นแล ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลกนี้.
การปฏิบัติชอบในมารดา ชื่อว่า มตฺเตยฺยตา. การปฏิบัติชอบใน
บิดา ชื่อว่า เปตฺเตยฺยตา การทะนุบำรุงมารดาบิดานี่แล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง. อันที่จริง มารดาและบิดาทราบว่า
บุตรทั้งหลายไม่บำรุงแล้ว ย่อมฝังทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งตนเสียใน
แผ่นดินบ้าง ย่อมสละให้แก่ชนเหล่าอื่นบ้าง, อนึ่ง การนินทาย่อมเป็นไป