เมนู

พระศาสดาตรัสถามเหตุที่มารทูล


ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะมารนั้นว่า " มารผู้มีบาป ก็ท่านเห็น
อะไรของเรา ผู้ซึ่งท่านกล่าวอย่างนี้ ?" เมื่อมารกราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล ทรงอบรมอิทธิบาททั้ง 4 ดีแล้ว,
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจำนงหวัง พึงทรงน้อมนึกถึงเขาหลวงหิมวันต์
ว่า " จงเป็นทอง" และเขาหลวงที่ทรงน้อมนึกถึงนั้น พึงเป็นทองทีเดียว,
แม้ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์ เพื่อพระองค์, เพราะเหตุนี้
พระองค์จักทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม" ดังนี้แล้ว ทรงยังมาร
ให้สังเวชด้วยคาถา1เหล่านี้ว่า:-
" บรรพต พึงเป็นของล้วนด้วยทองคำที่สุกปลั่ง,
แม้ความที่บรรพตนั้น (ทวีขึ้น) เป็น 2 เท่า2 ก็ยัง
ไม่เพียงพอแก่บุคคลคนหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว
พึงประพฤติแต่พอสม. ผู้เกิดมาคนใด ได้เห็นทุกข์
ว่ามีกามใดเป็นแดนมอบให้ (เป็นเหตุ), ไฉนผู้ที่
เกิดมาคนนั้น จะพึงน้อมไปในกามนั้นได้เล่า ? ผู้ที่
เกิดมารู้จักอุปธิ (สภาพเข้าไปทรงไว้) ว่า ' เป็น
ธรรมเครื่องข้อง ' ในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อนำอุปธิ
นั้นนั่นแล ออกเสีย."

แล้วตรัสว่า " มารผู้ลามก โอวาทของท่านเป็นอย่างอื่นทีเดียวแล, ของ
เราก็เป็นอย่างอื่น (คนละอย่างกัน ), ขึ้นชื่อว่าการปรึกษาธรรมกับท่าน
1. สํ. ส. 15/170. 2. แม้ประชุมแห่งบรรพต 2 ลกก็ว่า.

ย่อมไม่มี, เพราะเราย่อมสอนอย่างนี้" แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้
ว่า:-
8. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
ตุฏฺฐี สุขา ยา อิตรีตเรน
ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
สพฺพสฺส ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ.
สุขา มตฺเตยฺยตา โลเก อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา
สุขา สามญฺญตา โลเก อโถ พฺรหฺมญฺญตา สุขา
สุขํ ยาว ชรา สีลํ สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา
สุโข ปญฺญาย ปฏิลาโภ ปานานํ อกรณํ สุขํ.
" เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำ
ความสุขมาให้, ความยินดีด้วยปัจจัยนอกนี้ ๆ (ตาม
มีตามได้ ) นำความสุขมาให้, บุญนำความสุขมาให้
ในขณะสิ้นชีวิต, การละทุกข์ทั้งปวงเสียได้ นำความ
สุขมาให้. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา นำความสุข
มาให้ในโลก, อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา นำ
ความสุขมาให้. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ นำ
ความสุขมาให้ ในโลก, อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูล
แก่พราหมณ์ นำความสุขมาให้. ศีลนำความสุขมาให้
ตราบเท่าชรา, ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำความสุขมา
ให้, การได้เฉพาะซึ่งปัญญา นำความสุขมาให้, การ
ไม่ทำบาปทั้งหลาย นำความสุขมาให้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺหิ ความว่า ก็เมื่อกิจ มีการ
ทำจีวรเป็นต้นก็ดี มีการระงับอธิกรณ์เป็นต้นก็ดี บังเกิดขึ้นแก่บรรพชิต
บ้าง. (หรือ ) เมื่อกิจ มีกสิกรรมเป็นต้นก็ดี มีการถูกเหล่าชนผู้อาศัย
ร่วมด้วยฝักฝ่ายที่มีกำลังย่ำยีก็ดี บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์บ้าง, สหายเหล่าใด
สามารถเพื่อยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ หรือให้สงบได้, สหายผู้เห็นปานนั้น
นำความสุขมาให้.
สองบทว่า ตุฏฺฐี สุขา ความว่า ก็แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ไม่
สันโดษแล้วด้วยของแห่งตน จึงปรารภทุจริตกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น,
แม้บรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่สันโดษแล้วด้วยปัจจัยของตน จึงปรารภอเนสนา
มีประการต่าง ๆ, เพราะเหตุนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองนั้น จึงไม่
ประสพความสุขเลย; เพราะฉะนั้น ความสันโดษด้วยของมีอยู่แห่งตน
นอกนี้ ๆ คือเล็กน้อยหรือมากมายนี่เอง นำความสุขมาให้.
บทว่า ปุญฺญํ ความว่า ก็บุญกรรมที่เริ่มทำไว้ตามอัธยาศัยอย่างไร
นั่นแล นำความสุขมาให้ในมรณกาล.
บทว่า สพฺพสฺส ความว่า อนึ่ง พระอรหัต กล่าวคือการละ
วัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้นั่นแล ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลกนี้.
การปฏิบัติชอบในมารดา ชื่อว่า มตฺเตยฺยตา. การปฏิบัติชอบใน
บิดา ชื่อว่า เปตฺเตยฺยตา การทะนุบำรุงมารดาบิดานี่แล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง. อันที่จริง มารดาและบิดาทราบว่า
บุตรทั้งหลายไม่บำรุงแล้ว ย่อมฝังทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งตนเสียใน
แผ่นดินบ้าง ย่อมสละให้แก่ชนเหล่าอื่นบ้าง, อนึ่ง การนินทาย่อมเป็นไป