เมนู

8.เรื่องมาร [239]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ กุฎีซึ่งตั้งอยู่ในป่าที่ข้างป่าหิมพานต์
ทรงปรารภมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺถมฺหิ " เป็นต้น.

มารทูลให้พระศาสดาทรงครองราชสมบัติ


ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชาทั้งหลายทรงครอบครองราชสมบัติ
เบียดเบียนเหล่ามนุษย์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น
มนุษย์ทั้งหลายถูกเบียดเบียนด้วยการลงอาชญา ในรัชสมัยของพระราชา
ผู้มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงดำริด้วยสามารถแห่งความกรุณาอย่างนี้ว่า " เรา
อาจเพื่อจะครอบครองราชสมบัติโดยธรรม ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ให้ผู้อื่น
เศร้าโศก หรือหนอ ?"
มารผู้มีบาปทราบพระปริวิตกข้อนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึง
ดำริว่า " พระสมณโคดมทรงดำริว่า ' เราอาจเพื่อครอบครองราชสมบัติ
หรือหนอ ?' บัดนี้ พระสมณโคดมนั้น จักเป็นผู้ใคร่เพื่อครอบครอง
ราชสมบัติ, ก็ชื่อว่าราชสมบัตินี้ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เมื่อพระ-
สมณโคดมครอบครองราชสมบัตินั้นอยู่, เราอาจเพื่อได้โอกาส; เรา
จะไป, จักยังความอุตสาหะให้เกิดขึ้นแก่พระองค์." แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดากราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
ครองราชสมบัติ, ขอพระสุคตเจ้าจงทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ไม่
เบียดเบียนเอง ไม่ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ไม่
เศร้าโศกเอง ไม่ให้ผู้อื่นเศร้าโศก."

พระศาสดาตรัสถามเหตุที่มารทูล


ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะมารนั้นว่า " มารผู้มีบาป ก็ท่านเห็น
อะไรของเรา ผู้ซึ่งท่านกล่าวอย่างนี้ ?" เมื่อมารกราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล ทรงอบรมอิทธิบาททั้ง 4 ดีแล้ว,
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจำนงหวัง พึงทรงน้อมนึกถึงเขาหลวงหิมวันต์
ว่า " จงเป็นทอง" และเขาหลวงที่ทรงน้อมนึกถึงนั้น พึงเป็นทองทีเดียว,
แม้ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์ เพื่อพระองค์, เพราะเหตุนี้
พระองค์จักทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม" ดังนี้แล้ว ทรงยังมาร
ให้สังเวชด้วยคาถา1เหล่านี้ว่า:-
" บรรพต พึงเป็นของล้วนด้วยทองคำที่สุกปลั่ง,
แม้ความที่บรรพตนั้น (ทวีขึ้น) เป็น 2 เท่า2 ก็ยัง
ไม่เพียงพอแก่บุคคลคนหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว
พึงประพฤติแต่พอสม. ผู้เกิดมาคนใด ได้เห็นทุกข์
ว่ามีกามใดเป็นแดนมอบให้ (เป็นเหตุ), ไฉนผู้ที่
เกิดมาคนนั้น จะพึงน้อมไปในกามนั้นได้เล่า ? ผู้ที่
เกิดมารู้จักอุปธิ (สภาพเข้าไปทรงไว้) ว่า ' เป็น
ธรรมเครื่องข้อง ' ในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อนำอุปธิ
นั้นนั่นแล ออกเสีย."

แล้วตรัสว่า " มารผู้ลามก โอวาทของท่านเป็นอย่างอื่นทีเดียวแล, ของ
เราก็เป็นอย่างอื่น (คนละอย่างกัน ), ขึ้นชื่อว่าการปรึกษาธรรมกับท่าน
1. สํ. ส. 15/170. 2. แม้ประชุมแห่งบรรพต 2 ลกก็ว่า.