เมนู

องค์เดียวเท่านั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. ช้างชื่อปาลิไลยกะเห็นท่านแล้ว
จับไม้แล่นแปร๋ไป. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นแล้วตรัสว่า " เจ้าจง
หลีกไป ปาลิไลยกะ, อย่าห้าม, นั่นเป็นพุทธปัฏฐาก." มันทิ้งท่อนไม้
ลงในที่นั้นนั่นเอง ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรและจีวร. พระเถระ
มิได้ให้. ช้างคิดว่า " ถ้าภิกษุนี้จักเป็นผู้มีวัตรอันเรียนแล้วไซร้, ท่านจัก
ไม่วางบริขารของตนลงบนแผ่นหินที่ประทับนั่งของพระศาสดา." พระ-
เถระวางบาตรและจีวรลงบนพื้น. แท้จริง ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรทั้งหลาย
ย่อมไม่วางบริขารของตนลงบนที่นั่งหรือที่นอนของครู. พระเถระถวาย
บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามว่า " เธอ
มารูปเดียวเท่านั้นหรือ ?" ทรงสดับความที่พระเถระมากับภิกษุประมาณ
500 รูป ตรัสว่า " ภิกษุพวกนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ?" เมื่อพระเถระกราบทูล
ว่า "ข้าพระองค์ เมื่อไม่ทราบจิตของพระองค์ จึงพักไว้ข้างนอก (ก่อน)
แล้วมาเฝ้า," ตรัสว่า " จงเรียกภิกษุเหล่านั้นเข้ามาเถิด." พระเถระได้
กระทำอย่างนั้น.

เที่ยวไปคนเดียวดีกว่าไปกับเพื่อนชั่ว


พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว, เมื่อภิกษุเหล่า-
นั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธ-
เจ้าผู้สุขุมาล และเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล, พระองค์ผู้เดียวประทับยืนและ
ประทับนั่งอยู่ตลอดไตรมาส ทรงทำกรรมที่ทำได้โดยยากแล้ว, ผู้กระทำ
วัตรและปฏิวัตรก็ดี ผู้ถวายวัตถุมีน้ำบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้นก็ดี ชะรอยจะ
มิได้มี," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย กิจทุกอย่าง ช้างปาลิไลยกะทำแล้ว

แก่เรา, อันที่จริง การที่บุคคลเมื่อได้สหายผู้มีรูปเช่นนี้ อยู่ร่วมกัน สมควร
แล้ว, เมื่อบุคคลไม่ได้ การเที่ยวไปคนเดียวเท่านั้นเป็นการประเสริฐ"
แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ไว้ในนาควรรคว่า :-
7. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา.
โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค.
เอกสฺส จริตํ เสยฺโย นตฺถิ พาเล สหายตา
เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา
อปฺโปสฺสุกฺโก มาตงฺครญฺเญว นาโค.
" ถ้าว่า บุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา
ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็น
ผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, เขาพึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้น
เสียแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติ เที่ยวไปกับ
สหายนั้น. หากว่า บุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา
เครื่องรักษาตัว มีธรรมเครื่องอยู่เป็นอันดี เป็นนัก
ปราชญ์ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, เขาพึงเที่ยว

ไปคนเดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้น ที่
ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว (หรือ) เหมือนช้างชื่อว่า
มาตังคะ ละโขลงแล้ว เที่ยวไปในป่าตัวเดียวฉะนั้น.
ความเที่ยวไปแห่งบุคคลคนเดียวประเสริฐกว่า, เพราะ
คุณเครื่องเป็นสหาย ไม่มีอยู่ในชนพาล; บุคคลนั้น
พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัว
มีความขวนขวายน้อยเที่ยวไปอยู่ในป่าฉะนั้น และ
ไม่พึงทำบาปทั้งหลาย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปกํ คือผู้ประกอบปัญญาเครื่องรักษา
ตน.
บทว่า สาธุวิหาริธีรํ คือผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันเจริญ เป็นบัณฑิต.
บทว่า ปริสฺสยานิ เป็นต้น ความว่า เขาเมื่อได้สหายผู้มีเมตตาเป็น
วิหารธรรมเช่นนั้น พึงครอบงำอันตรายทั้งหลาย คือ " อันตรายที่ปรากฏ
มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น และอันตรายที่ปกปิด มีราคะและโทสะเป็นต้น "
ทั้งหมดทีเดียวแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติมั่นคง เที่ยวไป คืออยู่กับ
สหายนั้น.
สองบทว่า ราชาว รฏฺฐํ ความว่า เหมือนพระราชาผู้ฤาษี ทรงละ
แว่นแคว้นผนวชอยู่ฉะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า " พระราชาผู้มี
ภูมิประเทศอันพระองค์ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะ
เด็ดขาดแล้วเสีย ด้วยทรงดำริว่า ชื่อว่าความเป็นพระราชานี้ เป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาทอันใหญ่, ประโยชน์อะไรของเราด้วยราชสมบัติที่เรา