เมนู

" ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท, จง
ตามรักษาจิตของตน, จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่ง
ช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรตา ความว่า ท่านทั้งหลาย
จงยินดียิ่งในความไม่อยู่ปราศจากสติ.
บทว่า สจิตฺตํ ความว่า จงรักษาจิตของตนในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป
เป็นต้น โดยอาการที่มันจะทำความก้าวล่วงไม่ได้.
บทว่า สนฺโน ความว่า ช้างที่จมลงไปแล้วในเปือกตมตัวนั้น ทำ
ความพยายามด้วยเท้าหน้าและเท้าหลัง ถอนตนขึ้นพ้นจากเปือกตม ดำรง
อยู่บนบกได้ ฉันใด, แม้ท่านทั้งหลายก็จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลส
คือยังตนให้ดำรงอยู่บนบกคือพระนิพพาน ฉันนั้นเถิด.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว ดัง
นี้แล.
เรื่องช้างชื่อปาเวรกะ จบ

3. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [238]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยป่าชื่อปาลิไลยกะ ประทับอยู่ในไพรสณฑ์
ชื่อรักขิตะ ทรงปรารภภิกษุเป็นอันมาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สเจ
ลเภถ "
เป็นต้น.

ภิกษุ 500 รูปอยากเข้าเฝ้าพระศาสดา


เรื่องมาในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า "ปเร จ น วิชานนฺติ"
เป็นต้น ในยมกวรรคแล้วแล. อันที่จริง ข้าพเจ้ากล่าวเรื่องนี้แล้วว่า
" การประทับอยู่ของพระตถาคตเจ้า ผู้ซึ่งพระยาช้างในไพรสณฑ์ ชื่อรักขิตะ
นั้นบำรุงอยู่ ได้ปรากฏไปในสกลชมพูทวีปแล้ว. ตระกูลใหญ่มีอาทิอย่างนี้
คือ " ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา" ส่งข่าวไปจาก
พระนครสาวัตถีแก่พระอานนทเถระว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดง
พระศาสดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด." ภิกษุประมาณ 500 รูป แม้ผู้มีปกติ
อยู่ในทิศ ออกพรรษาแล้ว เข้าไปหาพระอานนทเถระ วิงวอนว่า " อานนท์
ผู้มีอายุ เราทั้งหลายฟังธรรมกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อ
กาลนานแล้ว, ดีละ อานนท์ผู้มีอายุ เราทั้งหลายพึงได้เพื่อฟังธรรมกถา
ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า."

ช้างปาลิไลยกะจับไม้จะตีพระอานนท์


พระเถระ พาภิกษุเหล่านั้นไป ณ ไพรสณฑ์ชื่อรักขิตะนั้นแล้ว ดำริ
ว่า " การเข้าไปสู่สำนักพระตถาคตเจ้า ผู้มีปกติประทับอยู่พระองค์เดียว
ตลอดไตรมาส พร้อมกับภิกษุมีประมาณเท่านี้ ไม่สมควร" ดังนี้แล้ว