เมนู

สานุสามเณรนั้น กำหนดได้ในเมื่อมารดากล่าวอยู่ จึงกล่าวว่า " ฉัน
ไม่มีความต้องการด้วยความเป็นคฤหัสถ์." ครั้งนั้น มารดาของเธอกล่าวว่า
" สาธุ พ่อ" พอใจแล้ว ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถามว่า " พ่อ พ่อ
มีกาลฝนเท่าไร ?" ทราบความที่เธอมีกาลฝนครบแล้ว ก็จัดแจงไตรจีวร
ให้. เธอมีบาตรจีวรครบ ได้อุปสมบทแล้ว.
ต่อมา พระศาสดาเมื่อจะทรงยิ่งความอุตสาหะในการข่มจิตให้เกิดขึ้น
แก่เธอผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน จึงตรัสว่า " ธรรมดาว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ ตลอดกาลนาน, ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้, เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการ
ข่มจิต เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างมันด้วยขอ
ฉะนั้น" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคเหสฺสามิ โยนิโส
หตฺถิปฺปภินฺนํ วิย อํกุสคฺคโห.
" เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่
ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความ
สบาย, วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ
ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า; ก่อนแต่นี้ ชื่อว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป
ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน, ชื่อว่าตามอาการที่ปรารถนา