เมนู

เท่านั้น ได้ถวายแล้ว. ลำดับนั้น อุบาสิกาคิดว่า " เราจักจัดแจงภัต"
นั่งลงในที่ไม่ไกล ซาวข้าวอยู่.
สมัยนั้น นางยักษิณีนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า "สามเณรอยู่ที่ไหนหนอ
แล ? เธอได้ภิกษาหาร หรือยังไม่ได้ " ทราบความที่เธอนั่งอยู่แล้ว
ด้วยความเป็นผู้ใคร่จะสึก จึงคิดว่า " ก็เธออย่าพึงยังความละอายให้เกิด
ขึ้นแก่เราในระหว่างเทวดาทั้งหลายเลย, เราจะไป จักกระทำอันตรายใน
การสึกของเธอ " ดังนี้แล้ว จึงมาสิงในสรีระของสามเณรนั้น บิดคอให้
ล้มลงเหนือแผ่นดิน. เธอมีตาทั้งสองเหลือก มีน้ำลายไหล ดิ้นรนอยู่บน
แผ่นดิน. อุบาสิกาเห็นอาการแปลกนั้นของบุตร รีบมาช้อนบุตรแล้ว
ให้นอนบนตัก. ชาวบ้านทั้งสิ้นมากระทำการเช่นสรวงมีพลีกรรมเป็นต้น.

อุบาสิกาคร่ำครวญ


ส่วนอุบาสิกาคร่ำครวญ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
" ชนเหล่าใด ย่อมรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วย
องค์ 8 ตลอดดิถีที่ 14 ที่ 15 และที่ 8 แห่งปักษ์
และตลอดปาริหาริยปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่,
ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่เล่นด้วยชนเหล่านั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้:. ในวันนี้
บัดนี้เอง ข้าพเจ้านั้นเห็นอยู่ ยักษ์ทั้งหลาย เล่นกับ
สานุสามเณร."
นางยักษิณีฟังคำของอุบาสิกาแล้ว จึงกล่าวว่า :-
" ยักษิณีทั้งหลาย ย่อมไม่เล่นกับเหล่าชนผู้รักษา
อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ตลอดดิถีที่ 14 ที่ 15 และ

ที่ 8 แห่งปักษ์ และตลอดปาริหาริยปักษ์ ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่, ท่านได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้ง-
หลายดังนี้ดีแล้ว."

ดังนี้แล้ว จึงกล่าว (ต่อไปอีก) ว่า :-
" ขอท่านจงบอกคำนี้ของยักษ์ทั้งหลาย กะสานุ-
สามเณร ผู้รู้สึกขึ้นแล้วว่า ' ท่านอย่าได้กระทำบาป
กรรมในที่แจ้งหรือในที่ลับ; หากว่าท่านจักกระทำบาป
กรรมก็ตาม กำลังกระทำอยู่ก็ตาม ท่านถึงจะเหาะ
หนีไป ก็หามีการหลุดพ้นจากทุกข์ไม่."

นางยักษิณีตนนั้นกล่าวว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่ท่านผู้แม้กระทำ
บาปกรรมอย่างนี้แล้ว เหาะหนีไปอยู่เหมือนนก" ดังนี้แล้ว ก็ปล่อย
สามเณร.
สามเณรนั้น ลืมตาขึ้นแล้ว เห็นมารดากำลังสยายผมร้องไห้สะอึก
สะอื้นอยู่ และชาวบ้านทั้งสิ้นประชุมกันอยู่แล้ว ไม่ทราบความที่ตนถูก
ยักษ์สิง จึงนึกสงสัยขึ้นว่า " เมื่อก่อนเรานั่งบนตั่ง, มารดาของเรานั่ง
ซาวข้าว ณ ที่ไม่ไกล, แต่บัดนี้ เรา (กลับ) นอนเหนือแผ่นดิน; นี่อะไร
กันหนอ ?" นอนอยู่เทียว กล่าวกะมารดาว่า :-
" โยม ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายไป
แล้ว หรือยังเป็นอยู่ (แต่) ไม่ปรากฏ: โยม โยม
เห็นฉันซึ่งเป็นอยู่ ไฉนจึงร้องให้ถึงฉันเล่า ? โยม."

ครั้งนั้น มารดาเมื่อจะแสดงโทษในการมาเพื่อจะสึกอีกของบุคคล
ผู้ละวัตถุกามและกิเลสกามบวชแล้วแก่เธอ จึงกล่าวว่า :-

" ลูก (ถูกแล้ว) ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงชนที่
ตายไปแล้ว หรือยังเป็นอยู่ (แต่) ไม่ปรากฏ; ก็ผู้ใด
ละกามทั้งหลายได้แล้ว ยังจะเวียนมาในกามนี้อีก,
ลูก ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงผู้นั้นบ้าง, เพราะเขา
(ถึง) เป็นอยู่ต่อไป ก็เหมือนตายแล้ว."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงโทษในการครอบครอง
เรือน ทำการครอบครองเรือนให้เป็นเช่นกับเถ้ารึงเทียว และให้เป็นเช่น
กับเหว จึงกล่าวอีกว่า :-
" พ่อ พ่อถูกยกขึ้นจากเถ้ารึงแล้ว ยังปรารถนา
จะตกลงสู่เถ้ารึง (อีก), พ่อ พ่อถูกยกขึ้นจากเหวแล้ว
ยังปรารถนาเพื่อจะตกลงไปสู่เหว (อีก)."

ต่อมา เพื่อจะแสดงว่า " ลูก ขอพ่อจงมีความเจริญเถิด, ก็ฉันจะ
ปรับทุกข์แก่ใคร จะให้ใครช่วยคิดเนื้อความนี้ว่า ' บุตรน้อยของเรานี้ อัน
เรานำออกให้บวชในพระพุทธศาสนา ประหนึ่งภัณฑะที่ถูกนำออกจาก
เรือนซึ่งกำลังถูกไฟไหม้แล้ว ยังปรารถนาเพื่อรุ่มร้อนในฆราวาสอีก, ขอ
ท่านทั้งหลายจงช่วยวิ่งเต้น จงช่วยต้านทาน แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด" นาง
จึงกล่าวคาถานี้กะสานุสามเณรนั้นว่า :-
" ขอท่านทั้งหลาย จงช่วยวิ่งเต้น ความเจริญจง
มีแก่ท่าน, ข้าพเจ้าจะปรับทุกข์แก่ใครเล่า ท่านเป็น
ดุจภัณฑะ ซึ่งถูกนำออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว
ยังปรารถนาเพื่อจะถูกไหม้อีก."

สานุสามเณรนั้น กำหนดได้ในเมื่อมารดากล่าวอยู่ จึงกล่าวว่า " ฉัน
ไม่มีความต้องการด้วยความเป็นคฤหัสถ์." ครั้งนั้น มารดาของเธอกล่าวว่า
" สาธุ พ่อ" พอใจแล้ว ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถามว่า " พ่อ พ่อ
มีกาลฝนเท่าไร ?" ทราบความที่เธอมีกาลฝนครบแล้ว ก็จัดแจงไตรจีวร
ให้. เธอมีบาตรจีวรครบ ได้อุปสมบทแล้ว.
ต่อมา พระศาสดาเมื่อจะทรงยิ่งความอุตสาหะในการข่มจิตให้เกิดขึ้น
แก่เธอผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน จึงตรัสว่า " ธรรมดาว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ ตลอดกาลนาน, ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้, เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการ
ข่มจิต เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างมันด้วยขอ
ฉะนั้น" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคเหสฺสามิ โยนิโส
หตฺถิปฺปภินฺนํ วิย อํกุสคฺคโห.
" เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่
ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความ
สบาย, วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ
ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า; ก่อนแต่นี้ ชื่อว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป
ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน, ชื่อว่าตามอาการที่ปรารถนา