เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนปาลโก นาม นั่นเป็นชื่อของช้าง
ที่พระเจ้ากาสิกราช ทรงส่งนายหัตถาจารย์ไปให้จับในนาควันอันรื่นรมย์
ในครั้งนั้น.
บทว่า กฏุกปฺปเภทโน ความว่า ตกมันจัด. อันที่จริง ในกาล
เป็นที่ตกมันของช้างทั้งหลาย หมวกหูทั้ง 2 ย่อมแตกเยิ้ม, แม้ตามปกติ
ในกาลนั้น ช้างทั้งหลาย ย่อมไม่นำพาซึ่งขอ ปฏัก หรือโตมร ย่อมเป็น
สัตว์ดุร้าย, แต่ช้างธนปาลกะนั้น ดุร้ายนักทีเดียว; เพราะฉะนั้น พระ-
ศาสดาจึงตรัสว่า กฏุกปฺปเภทโน ทุนฺนิวารโย.
บาทพระคาถาว่า พทฺโธ กพลํ น ภุญฺชติ ความว่า ช้างธนปาลกะ
นั้น มิได้ถูกตกปลอกไว้, แต่ถูกเขานำไปสู่โรงช้าง ให้แวดวงด้วยม่าน
อันวิจิตรแล้ว พักไว้บนพื้นที่ซึ่งทำการประพรมด้วยของหอม มีเพดาน
วิจิตรดาดไว้ ณ เบื้องบน แม้อันพระราชาให้บำรุงด้วยโภชนะมีรสเลิศ
ต่าง ๆ ควรแก่พระราชา ก็มิไยดีจะบริโภคอะไร ๆ. อันคำว่า " พทฺโธ
กพลํ น ภุญฺชติ"
( นี้ ) พระศาสดาตรัสหมายถึงอาการเพียงช้างถูกส่ง
เข้าไปสู่โรงช้าง.
สองบทว่า สุมรติ นาควนสฺส ความว่า ช้างธนปาลกะนั้นระลึก
ถึงนาควัน ซึ่งเป็นที่อยู่อันน่ารื่นรมย์แท้หามิได้, ก็มารดาของช้างนั้น
ได้เป็นสัตว์ถึงทุกข์เพราะพรากจากบุตรในป่า, ช้างนั้นบำเพ็ญมาตาปิตุ-
อุปัฏฐานธรรมนั่นแล. ดำริว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยโภชนะนี้"
ระลึกถึงมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม ซึ่งประกอบด้วยธรรมเท่านั้น; ก็ช้างนั้น