เมนู

4. อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺฐานมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ ปมาโท รกฺขโต มลํ.

"มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน, เรือน
มีความไม่หมั่นเป็นมลทิน, ความเกียจคร้าน เป็น
มลทินของผิวพรรณ, ความประมาท เป็นมลทินของ
ผู้รักษา."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺฌายมลา เป็นต้น ความว่า
เพราะปริยัติหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลไม่ท่อง ไม่ประกอบ
เนือง ๆ ย่อมเสื่อมสูญ หรือไม่ปรากฏติดต่อกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา."
อนึ่ง เพราะชื่อว่าเรือนของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ลุกขึ้นเสร็จสรรพ
แล้วไม่ทำกิจ มีการซ่อมแซมเรือนที่ชำรุดเป็นต้น ย่อมพินาศ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อนุฏฺฐานมลา ฆรา."
เพราะกายของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ผู้ไม่ทำการชำระสรีระ หรือ
การชำระบริขาร ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน ย่อมมีผิวพรรณมัวหมอง;
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ."
อนึ่ง เพราะเมื่อบุคคลรักษาโคอยู่ หลับหรือเล่นเพลินด้วยอำนาจ
ความประมาท, โคเหล่านั้นย่อมถึงความพินาศ ด้วยเหตุมีวิ่งไปสู่ที่มิใช่ท่า
เป็นต้นบ้าง ด้วยอันตรายมีพาลมฤค1 และโจรเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจการ
1. พาลมิค-เนื้อร้าย

ก้าวลงสู่ที่ทั้งหลาย มีนาข้าวสาลีเป็นต้นของชนพวกอื่นแล้วเคี้ยวกินบ้าง,
แม้ตนเอง ย่อมถึงอาชญาบ้าง การบริภาษบ้าง.
ก็อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายล่วงล้ำเข้าไปด้วยอำนาจความประมาท
ย่อมยังบรรพชิตผู้ไม่รักษาทวาร 6 ให้เคลื่อนจากศาสนา; ฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ปมาโท รกฺขโต มลํ." อธิบายว่า ก็ความ
ประมาทนั้น ชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะความประมาทเป็นที่ตั้งของมลทิน
ด้วยการนำความพินาศมา.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระโลฬุทายีเถระ จบ.

5. เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง [186]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภกุลบุตรคน
ใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ" เป็นต้น.

สามีละอายเพราะภริยาประพฤตินอกใจ


ดังได้สดับมา มารดาและบิดานำกุลสตรีผู้มีชาติเสมอกันมาเพื่อ
กุลบุตรนั้น. นางได้เป็นหญิงมักประพฤตินอกใจ1 ( สามี) จำเดิมแต่วันที่นำ
มาแล้ว. กุลบุตรนั้นละอาย เพราะการประพฤตินอกใจของนาง ไม่อาจ
เข้าถึงความเป็นผู้เผชิญหน้าของใครได้ เลิกกุศลกรรมทั้งหลาย มีการ
บำรุงพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยกาลล่วงไป 2-3วัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " อุบาสก
เพราะเหตุไร เราจึงไม่ (ใคร่) เห็นท่าน ?" จึงกราบทูลความนั้นแล้ว.

สตรีเปรียบเหมือนของ 5 อย่าง


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะกุลบุตรนั้นว่า " อุบาสก แม้ในกาล
ก่อน เราก็ได้กล่าวแล้วว่า ' ขึ้นชื่อว่าสตรีทั้งหลาย เป็นเช่นกับแม่น้ำ
เป็นต้น. บัณฑิตไม่ควรทำความโกรธในสตรีเหล่านั้น,' แต่ท่านจำไม่
ได้ เพราะความเป็นผู้อันภพปกปิดไว้" อันกุลบุตรนั้นทูลอาราธนาแล้ว
ตรัสชาดก2 ให้พิสดารว่า:-
1. อติจารินี ผู้มักประพฤติล่วง. 2. ขุ. ชุ. 27/21 อรรถกถา. 3/98.